ข้าศึกของมุทิตาและอุเบกขา MD 407 สมาธิ 7  หน้า 37
หน้าที่ 37 / 149

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้ชี้ให้เห็นถึงข้าศึกของมุทิตา ได้แก่ โสมนัสและอรติ โดยมีการอธิบายถึงโสมนัสที่เกิดขึ้นจากความหมายทัศน์ที่เกิดจากกามคุณ ในทางกลับกัน อรติก็ถูกกล่าวถึงในแง่ของความไม่ยินดี ควบคู่กับอุเบกขาที่มีอัญญานุเบกขาเป็นข้าศึกใกล้และราคะ ปฏิฆะเป็นข้าศึกไกล การพิจารณาเหล่านี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถเข้าใจวิธีการเจริญมุทิตาและอุเบกขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ถูกขวางโดยอารมณ์ที่ผิดปกติ เช่น ความโกรธและความติดยึดในกาม การศึกษาอย่างลึกซึ้งในหลักธรรมนี้เป็นแนวทางเพื่อการพัฒนาคุณธรรมในชีวิตประจำวันและผลประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมผ่านการทำความเข้าใจธรรมชาติของจิตใจและอารมณ์ของมนุษย์ ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-มุทิตา
-อุเบกขา
-โสมนัส
-อรติ
-อัญญานุเบกขา
-ราคะ
-ปฏิฆะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3. ข้าศึกของมุทิตา โสมนัส ความดีใจ,ความสุขใจ ความปลาบปลื้มที่อาศัยกามคุณ เป็นข้าศึกใกล้ของมุทิตา เพราะมีส่วนเข้ากันได้โดยมองแต่ส่วนได้เหมือนกัน โสมนัสอาศัยกามคุณมีในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ ว่า บุคคลเมื่อเล็งเห็นความได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ อันประกอบด้วยโลกามิส โดยเป็น ของอันตนได้เฉพาะ หรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะแล้วในกาลก่อนอัน ล่วงไปแล้ว อันดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโสมนัส โสมนัสเช่นนี้ เรียกว่า โสมนัสอาศัยเรือน อรติ ความคิดร้าย, ความไม่ยินดีด้วย, ความริษยา เป็นข้าศึกไกลของมุทิตา เพราะ เข้ากันไม่ได้ในส่วนของตน ด้วยเหตุนี้ ผู้ปฏิบัติจึงสามารถเจริญมุทิตาโดยไม่ต้องกลัวต่ออรติ เพราะว่าการเป็นคนยินดีต่อความดีของผู้อื่นและการเป็นคนเบื่อหน่ายที่สงัดหรือคุณธรรม ระดับสูงพร้อม ๆ กันนั้นไม่ใช่สิ่งที่เป็นไปได้ 4. ข้าศึกของอุเบกขา อัญญานุเบกขา ความเพิกเฉยเพราะความไม่รู้อาศัยกามคุณ เป็นข้าศึกใกล้ของอุเบกขา เพราะมีส่วนเข้ากันได้โดยไม่พิจารณาถึงคุณและโทษเหมือนกันอัญญานุเบกขาอาศัยกามคุณดังที่ มีในมัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ว่า เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ อุเบกขาจึงเกิดขึ้นแก่ปุถุชนคนโง่เขลา ยังไม่ ชนะกิเลสยังไม่ชนะวิบาก ไม่เห็นโทษ ไม่ได้สดับ เป็นคนหนาแน่น อุเบกขา เช่นนี้นั้น ไม่ละเลยรูปไปได้ เพราะฉะนั้น จึงเรียกว่า อุเบกขาอาศัยเรือน ราคะ ความกำหนัด, ความยินดีในกาม ปฏิฆะ ความขัดเคือง, แค้นเคือง, ความซึ้งเคียด เป็นข้าศึกไกลของอุเบกขา เพราะเข้ากันไม่ได้ในส่วนของตน ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถแผ่อุเบกขา โดยไม่ต้องกลัวต่อข้าศึกไกลคือราคะและปฏิฆะ เพราะว่าการที่จะแผ่อุเบกขาไป ยินดียินร้าย พร้อม ๆ กันไปในขณะเดียวกันไม่ใช่สิ่งที่จะเป็นไปได้ 1 สฬายตนวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 625 หน้า 287. 2 เล่มเดียวกัน ข้อ 629 หน้า 290. 28 DOU สมาธิ 7 : ส ม า ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More