การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย MD 407 สมาธิ 7  หน้า 123
หน้าที่ 123 / 149

สรุปเนื้อหา

ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้อธิบายวิธีการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย โดยเริ่มจากการพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหารจนจิตสงบไปยังอุปจารสมาธิ จากนั้นน้อมอาหารเป็นบริกรรมนิมิตเพื่อเข้าถึงอัปปนาสมาธิ อานิสงส์ของการเจริญอาหาเรปฏิกูลแสดงถึงการไม่ยินดีในรสอาหาร การเห็นความเกิดดับของรูปขันธ์ และการมีความสุขตลอดจนการเข้าถึงอมตภาพ นักศึกษาได้รับการกระตุ้นให้ใช้แนวทางนี้ในชีวิตประจำวันเพื่อเข้าใจวัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการบริโภคอาหารและพัฒนาคุณภาพจิตให้ดีขึ้น.

หัวข้อประเด็น

- การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา
- อานิสงส์ของอาหาเรปฏิกูล
- ความสำคัญของการพิจารณาอาหาร
- เส้นทางสู่พระนิพพาน
- การพัฒนาคุณภาพจิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

4.4 การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคอธิบายว่า เมื่อพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหารจนจิตสงบ ตั้งมั่น จะบรรลุได้เพียง “อุปจารสมาธิ” เท่านั้น แต่หากจะเจริญให้ยิ่งขึ้นไป ในวิชชาธรรมกาย อธิบายได้ดังต่อไปนี้ คือ เมื่อเราพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหารจนจิตสงบเป็นอุปจารสมาธิแล้ว ให้เรา น้อมเอาอาหารใหม่หรืออาหารเก่า (คูณ) มาน้อมเป็น “บริกรรมนิมิต” ที่ศูนย์กลางกาย จนภาพ ติดแน่นเป็น “อุคคหนิมิต” จนกลั่นตัวใสเป็น “ปฏิภาคนิมิต” จนจิตรวมเป็นหนึ่งตกศูนย์เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” ที่แท้จริงเป็นอัปปนาสมาธิได้ 4.5 อานิสงส์ของอาหาเรปฏิกูลสัญญา 1. ไม่ยินดีในรสอาหาร บริโภคเพียงเพื่อดำรงชีวิตอยู่ 2. ละกามคุณ 5 ได้ (กามคุณ 5 ได้แก่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) 3. เห็นความเกิดดับของรูปขันธ์ ความเกิดดับของรูปกายในคนที่เกิดจากอาหาร ความ เกิดดับของจิตขณะบริโภคและหลังบริโภค 4. เจริญกายคตาสติไปในขณะนั้นด้วย คือ พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยเลือด น้ำเหลือง เสมหะ เป็นต้น 5. รู้ลักษณะของคำข้าว 6. อยู่เป็นสุข 7. เข้าถึงอมตภาพ (พระนิพพาน) นักศึกษาได้ศึกษาเรื่องราวของอาหาเรปฏิกูลสัญญาแล้ว ขอให้นักศึกษาได้นำวิธีการ เจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน จะทำให้นักศึกษาเข้าใจถูกถึงวัตถุประสงค์ การกินที่แท้จริง และจะเป็นหนทางที่พัฒนาคุณภาพจิตให้สูงส่งขึ้นตามลำดับ กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 4 อาหาเรปฏิกูลสัญญา จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองและกิจกรรมประกอบบทเรียนบทที่ 4 แล้วจึงศึกษาบทที่ 5 ต่อไป 114 DOU ส ม า ชิ 7 : ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More