ข้อความต้นฉบับในหน้า
การเจริญอสุภกัมมัฏฐานเป็นไปได้ทั้งในแง่สมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน
หากเจริญในแง่สมถะก็ให้เห็นความเป็นสิ่งที่น่าเกลียดไม่สวยงามปฏิบัติแล้วทำให้ฌานเกิดขึ้นได้
ส่วนในแง่วิปัสสนาให้พิจารณาความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หรือ ไตรลักษณ์ คือ ให้เห็นว่า
ตัวของเราก็เป็นสิ่งไม่เที่ยงเหมือนซากศพที่นอนอยู่ต่อหน้านั้นเช่นกัน เพียงแต่ศพนี้ ชายนี้
หญิงคนนี้ตายก่อนเราเท่านั้น
การพิจารณาอสุภะในแง่วิปัสสนานั้น ท่านให้นึกถึงชีวิตร่างกายของเราแม้จะผ่านทุกข์
ทรมานได้รับความยากลำบากต่างๆ นานามาเพียงใด ก็ไม่ทุกข์เท่าตอนที่จะตายร่างกายแตกดับ
ในขณะนั้นจะทุกข์ที่สุด คือ ทุกข์จนทนอยู่ไม่ได้ ต้องตายไปเช่นศพนี้ ดังพุทธดำรัสที่ว่า สังขาร
ทั้งปวงเป็นทุกข์ และพิจารณาศพที่อยู่ตรงหน้าของเรานี้ว่า เมื่อศพนี้ยังมีชีวิตอยู่ เขาหรือเธอ
ผู้นั้นไม่เคยปรารถนาที่จะตาย ไม่เคยต้องการจะเจ็บป่วยหรือแก่เฒ่า แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้อง
เป็นไปเช่นนี้ ใจปรารถนาแต่กายไม่เป็นไปตามความปรารถนา ไม่อาจบังคับบัญชาได้ เขา
หรือเธอก็ไม่ใช่เจ้าของร่างกายนี้โดยแท้จริง เพราะหากเป็นเจ้าของร่างกายนี้ก็ต้องไม่แก่ไม่เจ็บ
ไม่ตาย ตามคำสั่งตามบัญชา แม้ร่างกายของเราเองก็ไม่อยู่ในบังคับบัญชาของเรารูปนามทั้งหลาย
เป็นอนัตตา เมื่อสังขารร่างกายเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง (ไม่เที่ยง), ทุกขัง
(เป็นทุกข์), อนัตตา (ไม่ใช่ตัวตน) จะไปยึดมั่นถือมั่นได้อย่างไร
1.6 อสุภะ 10 เป็นสัปปายะของราคจริต
การเจริญอสุภกัมมัฏฐานนี้เป็นอุปการะแก่คนราคจริตโดยอสุภะแต่ละอย่างจะเหมาะแก่
คนราคจริตดังต่อไปนี้
1. อุทธุมาตกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดในทรวดทรง เพราะสื่อความ
เสียทรวดทรงของร่างกาย
แห่งผิว
2. วินีลกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดในสีกาย เพราะส่อความเสียนวล
3. วิปุพพกอสุภ เป็นสัปปายะแห่งบุคคลผู้มักกำหนัดในกลิ่นกายที่แต่งขึ้นด้วยอำนาจ
เครื่องอบกลิ่น มีดอกไม้และเครื่องหอมเป็นต้นเพราะส่อความถึงสิ่งที่เนื่องด้วยกายและผิวพรรณ
มีกลิ่นเหม็น
1
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค, มก. เล่ม 27 ข้อ 43 หน้า 53.
14 DOU ส ม า ชิ 7 : ส ม ถ ก ม ม ฏ ฐ า น 40 วิธี