แนวคิดและวัตถุประสงค์ของอาหาเรปฏิกูลสัญญา MD 407 สมาธิ 7  หน้า 114
หน้าที่ 114 / 149

สรุปเนื้อหา

บทที่ 4 อธิบายเกี่ยวกับการบริโภคอาหารโดยไม่พิจารณาอาจนำมาซึ่งผลเสียต่างๆ และเสนอการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นคุณค่าของอาหาร รวมถึงการเข้าถึงพระธรรมกาย อาหารมี 10 อาการที่สามารถพิจารณาได้ จะช่วยให้ละการยึดติดในอาหารและพัฒนาคุณภาพจิต นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและปฏิบัติตามได้ รวมถึงการเห็นอานิสงส์ในการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดเกี่ยวกับอาหาเรปฏิกูลสัญญา
-วิธีการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา
-การเข้าถึงพระธรรมกาย
-อานิสงส์ของการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 4 แนวคิดและวัตถุประสงค์ แนวคิด 1. การบริโภคอาหารที่ปราศจากการพิจารณาย่อมนำโทษมาให้ คือ ทำให้หลงผิด และ ยึดติดกับอาหาร อันจะทำให้เกิดความมัวเมา และไม่สามารถพัฒนาคุณภาพจิตขึ้นได้ อาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นการพิจารณาอาหารให้เห็นถึงความปฏิกูล เพื่อจะได้ไม่เมามัว และทำให้ เกิดความทุกข์ ทั้งยังเป็นหนทางแห่งการบรรลุอมตธรรม 2. การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาใช้วิธีการพิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยอาการ 10 อย่าง 3. การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ใช้อาหารใหม่หรืออาหาร เก่า แล้วนึกน้อมมาตั้งไว้ที่ศูนย์กลางกาย กระทั่งเห็นภาพอาหารใหม่ หรือเก่านั้นชัดเจนเป็น อุคคหนิมิต ต่อจากนั้นนิมิตนั้นใสสว่าง เป็นปฏิภาคนิมิต กระทั่งใจรวมตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรม ภายใน 4. การเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญามีอานิสงส์หลายประการ เช่น ทำให้คลายความ ติดใจในรสอาหาร ทำให้เห็นความเกิดดับของอาหารและรูปร่างกายของตน ที่อาหารหล่อเลี้ยง เป็นต้น วัตถุประสงค์ 1. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกความเป็นมาและความหมายของอาหาเรปฏิกูลสัญญาได้ 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกวิธีการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญา 3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถบอกวิธีการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาเพื่อให้เข้าถึง พระธรรมกายได้ 4. เพื่อให้นักศึกษาบอกอานิสงส์ของการเจริญอาหาเรปฏิกูลสัญญาได้ อ า ห าเรปฏิกูลสัญญา DOU 105
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More