ข้อความต้นฉบับในหน้า
ถ้าหากว่าสหายที่รักยิ่งของผู้ปฏิบัติ เมื่อก่อนเขาเป็นคนมีความสมบูรณ์พูนสุข แต่
ตอนนี้เขากลายเป็นคนตกทุกข์ได้ยาก ก็ควรนึกถึงความสุขที่เขาได้รับในอดีต แล้วยึดเอา
ความสุข ที่เขาได้รับในอดีตเป็นอารมณ์ในการทำมุทิตาให้เกิดขึ้น โดยพิจารณาว่า คนผู้นี้เมื่อครั้ง
ในอดีตเขาเป็นคนมีทรัพย์มากมีบริวารมากเป็นคนสนุกสนานร่าเริงอยู่เสมอ ดังนี้แล้วเจริญมุทิตา
ให้เป็นไปในเขาคนนั้น แม้อาการในอนาคตก็ควรยกขึ้นมาพิจารณาว่า ต่อไปในภายภาคหน้า
เขาจะได้สมบัติเล่านั้นกลับคืนมาอีกครั้ง เขาจะได้บริโภคใช้สอยทรัพย์สมบัติอย่างมีความสุข
เป็นแน่ แล้วเจริญมุทิตาไปยังบุคคลผู้นั้น
3. คนที่ควรเจริญมุทิตาเป็นอันดับต่อไป
เมื่อได้เจริญมุทิตาไปยังบุคคลที่รักดังที่กล่าวมาแล้ว ถัดจากนั้นให้เจริญไปยังบุคคล
ตามลำดับดังนี้ คือ คนที่เป็นกลาง ๆ และคนคู่เวร มีวิธีปฏิบัติดังนี้
เมื่อได้เจริญมุทิตาให้เกิดมีในเพื่อนที่รักมากหรือสหายนักเลงแล้ว จึงทำให้คล่องแคล่ว
ให้อ่อนนิ่มนวลควรแก่การงานเสียก่อน แล้วจึงเจริญมุทิตาไปยังคนที่รัก ครั้นคล่องแคล่ว
เชี่ยวชาญดีแล้วจึงเจริญมุทิตาไปในคนที่เป็นกลาง ๆ เมื่อทำกัมมัฏฐานในคนเป็นกลาง ๆ ได้
คล่องแคล่วเชี่ยวชาญอ่อนนุ่มนวลควรแก่การงานดีแล้วถัดจากนั้นจึงเจริญไปในคนที่เป็นคู่เวร
ถ้าหากว่าในขณะเจริญมุทิตาไปในคนคู่เวร ความโกรธแค้นได้เกิดขึ้น ก็ให้พยายาม
บรรเทาความโกรธแค้นนั้นด้วยวิธีการเช่นเดียวกับที่แสดงไว้แล้วในเมตตาภาวนาความโกรธแค้น
ก็จะสงบระงับไป
2.7.2 การเจริญมุทิตาให้ถึงสีมสัมเภท
ต่อจากนั้นให้ทำมุทิตาให้เป็นสีมส้มเภท คือทำจิตให้เสมอกันในบุคคลทั้ง 4 จำพวก คือ
คนที่รักมาก คนเป็นกลาง ๆ คนคู่เวร และตนเอง
ในการเจริญมุทิตาภาวนา เมื่อได้เพียรทำภาวนาให้มากเข้าๆ ในที่สุดก็จะบรรลุถึง
อัปปนาฌาน แล้วทำฌานนั้นให้ก้าวหน้าทีละขั้นตามลำดับ ในที่สุดก็จะบรรลุถึงฌาน 3 ใน
ระบบฌาน 4 และฌาน 4 ในระบบฌาน 5 โดยทำนองกับที่กล่าวมาแล้วในเมตตาภาวนา
ทุกประการ
1 อภิธรรม วิภังค์, มก. เล่ม 78 ข้อ 746 หน้า 444.
70 DOU สมาธิ 7 : ส ม า ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี