การบริหารความโกรธและกรรม MD 407 สมาธิ 7  หน้า 49
หน้าที่ 49 / 149

สรุปเนื้อหา

ในเมื่อศัตรูนำเราไปสู่ความโกรธไม่เกิดประโยชน์ แล้วทำไมจึงต้องอยู่ในสภาพนั้น? การถอนความโกรธสำคัญมากเมื่อความโกรธเกิดขึ้นจากขันธ์ 5 ที่ไม่มีความผิด การทำความเข้าใจในกรรมจะช่วยให้อารมณ์สงบลง การโกรธส่งผลเสียต่อตัวเราเอง การพิจารณาว่าเราเป็นผู้มีกรรมเป็นของตนจะนำมาซึ่งการสัมผัสกับความจริงในชีวิต เพื่อไม่ให้ตกต่ำ. หากท่านต้องทุกข์เพราะกรรมแย่ๆ ก็จะไม่ต้องการเป็นคนที่ตั้งอยู่ในสภาพความโกรธ.

หัวข้อประเด็น

-หลักการบริหารความโกรธ
-ขันธ์ 5 และการเกิดดับ
-ความสำคัญของกรรม
-การพิจารณาตนเองในด้านกรรม
-ผลกระทบของความโกรธต่อชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

7. ในเมื่อศัตรูได้เดินไปสู่ทางผิด คือ ความโกรธ ซึ่งไม่นำประโยชน์อะไรมาให้แก่ เราเลย แม้เมื่อเรายังโกรธอยู่ ก็ชื่อว่าคล้อยตามทางของเขาละซิ 8. ศัตรูได้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจให้แก่เรา ด้วยอาศัยความโกรธอันใดของเรา เราจง ถอนความโกรธนั้นเสียเถิด เราจะมัวเดือดร้อนในสิ่งที่ไม่สมควรทำไมกัน 9. ขันธ์ 5 เหล่าใดได้ทำสิ่งที่ไม่น่าพอใจให้แก่เรา ขันธ์ 5 เหล่านั้นได้ดับไปแล้ว เพราะสภาวธรรมทั้งหลายมีการเกิดดับอยู่ตลอดเวลา ขันธ์ 5 เก่าดับไป ขันธ์ 5 ใหม่เกิดขึ้นมา แทน บัดนี้ เราจะมัวหลงโกรธใครในที่นี้เล่า การโกรธต่อขันธ์ 5 ที่เกิดขึ้นมาใหม่ซึ่งไม่มี ความผิดนั้น เป็นการไม่สมควรอย่างยิ่ง 4) บรรเทาความโกรธด้วยการพิจารณาถึงกรรม ความโกรธแค้นก็ยังไม่สงบลง เมื่อผู้เจริญเมตตาพยายามพร่ำสอนตนเองด้วยประการต่าง ๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ ต่อแต่นี้ให้ใช้วิธีพิจารณาถึงภาวะที่ตนและคนอื่นเป็นผู้มีกรรม เป็นของของตนต่อไป ในการพิจารณาถึงกรรมนั้น ให้พิจารณาถึงภาวะที่ตนเป็นผู้มีกรรมเป็น ของตนเป็นอันดับแรกดังต่อไปนี้ นี่แน่ะ พ่อมหาจำเริญ เจ้าโกรธคนอื่นแล้วจะได้ประโยชน์อะไร กรรมอันมีความโกรธ เป็นเหตุของเรานี้มันจะบันดาลให้เป็นไปเพื่อความฉิบหายแก่เราเองไม่ใช่หรือ ด้วยว่า เราเป็นผู้ มีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็น ที่พึ่งอาศัย เราได้ทำกรรมใดไว้จะต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น อนึ่ง กรรมของเรานี้ มันไม่สามารถบันดาลให้สำเร็จสัมมาสัมโพธิญาณ ปัจเจกโพธิ ญาณ และสาวกภูมิ มันไม่สามารถบันดาลให้สำเร็จสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งในบรรดาสมบัติ ทั้งหลาย เช่น ความเป็นพระพรหม พระอินทร์ พระเจ้าจักรพรรดิ และพระเจ้าประเทศราชได้เลย ตรงกันข้าม กรรมของเรานี้ มันจะขับไล่ไสส่งให้เราออกจากพระศาสนาแล้วบันดาลให้ประสบ ความตกต่ำกันดารในชีวิต เช่น ทำให้บังเกิดเป็นขอทาน คนกินเดน หรือประสบทุกข์อย่าง ใหญ่หลวง เช่นทำให้ไปบังเกิดในมหานรกเป็นต้นอย่างแน่นอน ตัวเรานี้ หากขึ้นตัวโกรธอยู่อย่างนี้ ย่อมชื่อว่าเผาตัวเองทั้งเป็น และทำตัวเองให้ มีชื่อเสียงอันเน่าเหม็นเป็นคนแรกโดยแท้ เมื่อพิจารณาถึงความที่เราเป็นผู้มีกรรมเป็นของของตนอย่างนี้แล้ว จงพิจารณาถึง มที่คนอื่นมีกรรมเป็นของของตน ในลำดับต่อไป ดังนี้ ความที 40 DOU สมาธิ 7 : ส ม า ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More