อาหารเรปฏิกูลสัญญาและอานิสงส์ MD 407 สมาธิ 7  หน้า 116
หน้าที่ 116 / 149

สรุปเนื้อหา

อาหารเรปฏิกูลสัญญาเป็นกัมมัฏฐานที่มีความละเอียดลึกซึ้ง ที่ต้องใช้ปัญญาในการพิจารณา โดยพระพุทธเจ้าทรงสอนว่าอาหารมี 4 ประเภท ได้แก่ กวฬิงการาหาร, ผัสสาหาร, มโนสัญเจตนาหาร, และวิญญาณาหาร ซึ่งแต่ละประเภทมีความสำคัญในการดำรงชีพ สร้างความเป็นอยู่ของสัตว์ทั้งหลาย การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารทั้ง 4 ประเภทนี้ช่วยให้เข้าถึงธรรมชาติที่แท้จริงของชีวิตและอานิสงส์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน กล่าวได้ว่า การพิจารณาอาหารเหล่านี้เป็นการใช้ปัญญาในการสำนึกถึงความเป็นจริงของสรรพสิ่งและสามารถนำไปสู่การเจริญเติบโตทางจิตวิญญาณได้

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของอาหารเรปฏิกูลสัญญา
-อาหาร 4 ประเภทตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
-ความสัมพันธ์ระหว่างอาหารและปัญญา
-การวิเคราะห์และพิจารณาสรรพสิ่ง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ผลมาก มีอานิสงส์มาก หยั่งลงสู่อมตะ มีอมตะเป็นที่สุด” อาหาเรปฏิกูลสัญญาเป็นกัมมัฏฐานที่มีความละเอียดลึกซึ้งเป็นอารมณ์ที่ต้องใช้ปัญญา ในการพิจารณา ดังนั้น กัมมัฏฐานจึงเหมาะสำหรับคนที่เป็นพุทธิจริต รู้จักคิดวิเคราะห์ถึง ความเป็นจริงของสรรพสิ่ง 4.2 ความหมายของอาหารเรปฏิกูลสัญญา คำว่า อาหาร หมายถึง สิ่งที่นำผลมาให้แก่ตน เป็นคำบ่งถึงการดำรงชีพของสัตว์ทั้งหลาย พระพุทธองค์ได้ทรงตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาหาร4 อย่างเหล่านี้เพื่อความตั้งอยู่แห่งเหล่าสัตว์ที่เกิดแล้วบ้าง เพื่อความอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่แสวงหาภพที่เกิดบ้าง อาหาร 4 อย่าง เป็นไฉน อาหาร 4 อย่าง คือ กวฬิงการาหาร อันหยาบหรือละเอียดเป็นที่ 1 ผัสสาหารเป็นที่ 2 มโนสัญเจตนาหารเป็นที่ 3 วิญญาณาหารเป็นที่ 4” จะเห็นได้ว่าอาหารที่เป็นไปเพื่อการตั้งอยู่แห่งสัตว์พระพุทธองค์ตรัสว่ามีอยู่ 4 อย่างคือ 1. กวฬิงการาหาร อาหาร คือ คำข้าว ได้แก่ อาหารที่เราบริโภคทุกมื้อทุกวันนั้นเอง เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงร่างกายไว้ 2. ผัสสาหาร อาหาร คือ ผัสสะหรือสัมผัสต่าง ๆ ที่กระทบอายตนะ 6 เป็นปัจจัย หล่อเลี้ยงนาม คือ ทำให้เกิดสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออุเบกขาเวทนา 3. มโนสัญเจตนาหาร อาหาร คือ มโนสัญเจตนา หรืออาหาร คือ ความนึกคิดทางใจ เป็นเหตุให้ทำ พูด คิด เป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงกรรม 4. วิญญาณาหาร อาหาร คือ วิญญาณ หรือวิญญาณเป็นอาหารเป็นปัจจัยหล่อเลี้ยงให้ เกิดนามรูป ปฏิกูลสัญญา หมายถึง การกำหนดหมายว่าเป็นสิ่งปฏิกูล 1 อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก. เล่ม 38 ข้อ 56 หน้า 185. 2 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์, มก. เล่ม 19 ข้อ 446 หน้า 176. อ า ห าเรปฏิกูลสัญญา DOU 107
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More