ข้อความต้นฉบับในหน้า
พรหมวิหารเป็นเครื่องอยู่ก็พึงเจริญไปด้วยอำนาจแห่งเมตตาเป็นต้นในสัตว์ทั้งหลายเพราะฉะนั้น
พรหมวิหารจึงมี 4 อย่าง เพราะเป็นธรรมที่ใช้ปราบอกุศลธรรมมีพยาบาท เป็นต้น
2.2.2 สาเหตุที่มี าดับเช่นนั้น
เหตุที่จัดเรียงลำดับเช่นนั้นเพราะเมื่อผู้ปฏิบัติมีความประสงค์จะเจริญพรหมวิหารให้ครบ
ทั้ง 4 ประการ จำเป็นต้องปฏิบัติต่อสัตว์ทั้งหลายด้วยอาการ 4 อย่าง ตามลำดับ ดังนี้ คือ
1. ด้วยการมุ่งประโยชน์เกื้อกูลให้แก่กัน เป็นอันดับแรก ด้วยว่า เมตตามีการเกื้อกูล
แก่สัตว์เป็นลักษณะ
2. เมื่อผู้ปฏิบัติได้เห็น หรือได้ฟัง หรือกำหนดถึงสัตว์ทั้งหลายที่ถูกความทุกข์ครอบงำ
ย่อมปรารถนาจะเกื้อกูล แล้วช่วยนำทุกข์ออกไป ด้วยว่ากรุณา มีการนำทุกข์ออกไปเป็นลักษณะ
3. ต่อจากนั้น ก็พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจความยินดีในความพร้อมของสัตว์
ที่ตนปรารถนาเกื้อกูลแล้วและปราศจากทุกข์แล้วเหล่านั้นด้วยว่ามุทิตามีการบันเทิงใจต่อความ
ถึงพร้อมของผู้อื่นเป็นลักษณะ
4. เบื้องหน้าแต่นั้น ก็พึงปฏิบัติในสัตว์ทั้งหลายโดยความเป็นกลาง กล่าวคือ ความเป็น
ผู้วางเฉย เพราะไม่มีกิจที่พึงขวนขวายทำให้อีก ด้วยว่าอุเบกขามีความเป็นกลางเป็นลักษณะ
เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ พระพุทธองค์จึงตรัสเมตตาไว้ก่อน ด้วยอำนาจการมุ่งประโยชน์
เกื้อกูล ต่อจากนั้นจึงแสดงกรุณาเป็นอันดับที่ 2 มุทิตาเป็นอันดับที่ 3 และอุเบกขาเป็นอันดับที่
4 ดังที่กล่าวมาแล้วนี้
อย่างไรก็ตาม การจัดลำดับของพรหมวิหารดังกล่าว ในลักษณะทั่ว ๆ ไป ไม่ได้มีกฎเกณฑ์
ตายตัวว่าจะต้องเป็นไปตามลำดับอย่างนั้นเสมอไปเพราะในการปฏิบัติจริงๆ ไม่ได้กำหนดตายตัว
ว่าจะต้องเริ่มต้นจากเมตตาภาวนาก่อน สามารถเจริญภาวนาข้อใดเป็น อันดับแรกก็ได้ทั้งนั้น
ยกเว้นผู้ที่จะเจริญอุเบกขาจะต้องได้ฌานจากการเจริญพรหมวิหารข้อใดข้อหนึ่งเสียก่อนจึงจะ
สามารถทำได้
สำหรับการเจริญพรหมวิหาร ถ้าเจริญภาวนาโดยจำกัดบุคคลจำกัดสถานที่ ก็เป็น
เพียงการแผ่อย่างธรรมดา หากแผ่ตลอดทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายโดยไม่มีจำกัด ท่านเรียกว่า
“อัปปมัญญา”
อัปปมัญญา มีความหมายว่า ธรรมที่เป็นไปในสัตว์ทั้งหลายหาประมาณไม่ได้
26 DOU สมาธิ 7 : ส ม า ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี