การเจริญอสุภกัมมัฏฐานและการปฏิบัติ MD 407 สมาธิ 7  หน้า 16
หน้าที่ 16 / 149

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาถึงอสุภกัมมัฏฐาน ตามคัมภีร์วิสุทธิมรรค อธิบายถึงซากศพชนิดต่าง ๆ และข้อแนะนำเกี่ยวกับวิธีการไปดูซากศพอย่างเหมาะสมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาต่าง ๆ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับอสุภและความสำคัญของการมีอาจารย์คอยดูแล รวมถึงการเตรียมตัวที่ถูกต้องก่อนเข้าป่าช้า เช่น การแจ้งให้พระเถระทราบเพื่อความปลอดภัยเมื่อไปปฏิบัติธรรมในที่เสี่ยง

หัวข้อประเด็น

-อสุภกัมมัฏฐาน
-ซากศพ
-การเตรียมตัวปฏิบัติ
-การเรียนรู้จากพระเถระ
-ข้อควรระวังในสถานที่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. อุทธุมาตกอสุภ 2. วินีลกอสุภ 3. วิปุพฺพกอสุภ da a ซากศพท นอืดพอง ซากศพ ศพที่มีสีเขียวคล้ำ ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มในที่แตกปริ ซากศพที่ถูกฟันขาดออกจากกันเป็น 2 ท่อน ซากศพที่ถูกสัตว์ เช่น สุนัข กา แร้ง กัดกินโดยอาการต่าง ๆ ซากศพที่กระจายเรี่ยราด ศีรษะ มือ เท้า อยู่คนละทาง ซากศพที่ถูกสับฟันด้วยมีด ถูกแทงด้วยหอกจนเละ และทิ้ง กระจายอยู่ 4. วิจฺฉิทฺทกอสุภ 5. วิกขายตกอสุภ 6. วิกฺขิตฺตกอสุภ 7. หตวิกขิตตกอสุภ 8. โลหิตกอสุภ 9. ปุฬวกอสุภ 10. อฏฐิกอสุภ ซากศพที่เหลือแต่กระดูก ซากศพที่มีเลือดไหลอาบ ซากศพที่มีหนอนไชอยู่ทั่วร่าง 1.3 วิธีการเจริญอสุภกัมมัฏฐาน ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้แนะนำถึงวิธีการในการเจริญอสุภกัมมัฏฐานหลายขั้นตอน คือ ในเบื้องต้นนักปฏิบัติจะต้องเข้าไปหาอาจารย์เรียนเอาวิธีการกำหนดอสุภะ แล้วจึงเข้าไปยังสุสาน หรือสถานที่ที่มีศพอยู่ โดยในการไปอยู่ในที่นั้น มีข้อที่ควรปฏิบัติดังนี้ 1.3.1 วิธีการไปดูอสุภะ 1. บอกแก่พระเถระ เมื่อจะไปดูอสุภะควรบอกแก่พระเถระหรือพระภิกษุผู้มีชื่อเสียงรูปใดรูปหนึ่งก่อนแล้ว จึงไป เพราะว่าถ้านักปฏิบัติธรรมได้พบเห็นหรือได้ยินเสียงของอมนุษย์ หรือสัตว์ร้ายอื่น ๆ รบกวนเอา ก็จะทำให้เกิดอาการหวาดกลัว หรือเกิดอาการเจ็บป่วยขึ้นได้ พระเถระนั้น เมื่อ ทราบข่าว ก็จะได้คอยช่วยเหลือ ส่งคนมาดูแลรักษา อีกประการหนึ่งในที่ป่าช้าอาจมีพวกโจรที่ ไปทำการโจรกรรมแล้วหนีมาแอบซ่อนตัวอยู่ หรือรีบหนีไปแล้วทิ้งทรัพย์ที่ขโมยมาทิ้งไว้ หา เจ้าของทรัพย์ หรือทางราชการติดตามมาในที่นั้น ก็จะทำให้เกิดการเข้าใจผิดว่า นักปฏิบัติธรรม นั้นเป็นโจร แล้วก็จะทำการจับกุมหรือทำร้ายเอาได้ ดังนั้นการแจ้งเรื่องไว้แก่พระเถระหรือ พระภิกษุที่มีชื่อเสียง จะทำให้สามารถรอดพ้นจากข้อกล่าวหานั้นได้ อ สุภะ 1 0 DOU 7
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More