การเจริญเมตตาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย MD 407 สมาธิ 7  หน้า 67
หน้าที่ 67 / 149

สรุปเนื้อหา

การเจริญเมตตาเริ่มจากการแผ่เมตตาจากศูนย์กลางกาย ให้ครอบคลุมตนเองและคนอื่น โดยเริ่มจากตัวเอง มองเห็นความรักและบริสุทธิ์ในใจ การขยายเมตตาออกไปยังผู้คนต่างๆ จนถึงการเห็นพวกเขาสว่างเท่ากันจะเข้าสู่ขั้นสมสัมเภทและสร้างความรู้สึกปรารถนาดีกับทุกคนอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ยังมีกระบวนการนิมิต 3 ที่ช่วยในการเจริญเมตตาและกรุณาภาวนาในการช่วยเหลือผู้ทุกข์เพื่อให้พ้นทุกระเบียบ

หัวข้อประเด็น

-การเจริญเมตตา
-การแผ่เมตตา
-ศูนย์กลางกาย
-นิมิตในการภาวนา
-กรุณาภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.4 การเจริญเมตตาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ในการแผ่เมตตาในวิชชาธรรมกายให้เริ่มจาก “ศูนย์กลางกาย” โดยเริ่มแผ่ความใสสว่าง ออกมาจากศูนย์กลางกายให้ครอบคลุมตนเองก่อน จนเห็นตัวเองใสสว่างและมีความรัก ปรารถนาดีกับตนเองโดยอาจใช้คำบริกรรมภาวนาช่วย จากนั้นจึงแผ่ให้บุคคลตามลำดับโดยน้อม เอาบุคคลนั้นมาไว้ที่ศูนย์กลางกาย แล้วกลั่นให้ใสจนเหมือนกับเป็นตัวเอง ตั้งแต่ บุคคลที่เรารัก, บุคคลที่เรารักใคร่มาก, บุคคลที่เราไม่รักไม่ชัง, และบุคคลที่เป็นศัตรู จนทุกคนใสสว่างเท่ากัน เรามีความรู้สึกปรารถนาดีกับทุกคนเท่ากันเหมือนเป็นตัวของเรา เรียกว่าถึงขั้น “สมสัมเภท” จากนั้นใจก็จะรวมเป็นหนึ่งตกศูนย์เข้าถึง “ดวงธรรม” ที่แท้จริงภายใน จึงแผ่ขยายให้ กว้างขวางออกไปเป็น “ทิสาผรณา” คือ ทั่วไปทั้ง 10 ทิศ ให้ครอบคลุมขยายออกไปรอบตัวทั้ง ซ้าย ขวา หน้า หลัง ล่าง บน จนคลุมทั่วจังหวัด ประเทศ โลก และจักรวาล แล้วน้อมแผ่ไปสู่ ประเภทบุคคล 7 จำพวก เป็น “โอทิโสผรณา” และแผ่ไปโดยไม่จำกัดบุคคล 5 จำพวก เป็น “อโนทิโสผรณา” จนเห็น “ดวงปฐมมรรค” ของเราขยายคลุมโลกจักรวาล สรรพสัตว์ที่อยู่ในนั้น ใสสว่างเสมอเท่ากันหมดในดวงปฐมมรรคของเรา เรียกว่าเป็น “อัปปมัญญา” จริง ๆ แล้ว การเจริญเมตตาภาวนาในระดับที่ประณีตยิ่งขึ้นไปกว่านี้ยังมีอีก คือ การเจริญ เมตตาในระดับการเข้าถึงกายต่าง ๆ จนถึงการเจริญเมตตาสมาบัติในธรรมกาย แต่ในที่นี้ขอ อธิบายแต่เพียงเท่านี้ นิมิต 3 กับภาวนา 3 ในเมตตาภาวนา นับตั้งแต่เริ่มแผ่เมตตาให้กับตนเองเป็นต้น จนถึงเวรีบุคคลรวมทั้ง 4 จำพวกนี้มาไว้ที่ ศูนย์กลางกายเรียกว่า “บริกรรมนิมิต” เมื่อเมตตาจิตเกิดมีทั่วไปในบุคคลทั้ง 4 พวก แต่ยังไม่ เข้าถึงขั้นสีมส้มเภทเรียกว่า “อุคคหนิมิต” เมื่อสำเร็จเป็นสีมส้มเภท คือ เห็นทุกคนใสสว่างเท่ากัน หมดแล้ว เรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต” ในขณะเริ่มต้นบริกรรมด้วยใจว่า อเวรา โหนตุ เป็นต้น ไปในบุคคลต่าง ๆ เรียกว่า “บริกรรมภาวนา” การแผ่เมตตาในระหว่างที่ได้อุคคหนิมิตและ ปฏิภาคนิมิต เรียกว่า “อุปจารภาวนา” เมื่อดวงธรรมเกิด เรียกว่า “อัปปนาภาวนา” 2.5 การเจริญกรุณาภาวนา กรุณา คือ ความหวั่นใจเมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์ คิดหาทางช่วยเหลือปลดเปลื้องจากทุกข์นั้น หรือ ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ หมายความว่า เมื่อเห็นสัตว์ทั้งหลายได้รับความลำบาก 58 DOU สมาธิ 7 : ส ม ถ ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More