ข้อความต้นฉบับในหน้า
ไม่มีจำกัด ผู้เจริญจะต้องกำหนดใจแผ่ให้ตลอดทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายอย่างไม่มีจำกัด ไม่มีกำหนด
จึงจะเป็นการแผ่ที่เรียกว่า อัปปมัญญา ถ้าแผ่ชนิดจำกัดบุคคล จำกัดสถานที่ เรียกว่า เป็นการ
แผ่พรหมวิหารธรรมดา ไม่เรียกว่า อัปปมัญญา
2.2.3 ข้าศึกใกล้ข้าศึกไกลของพรหมวิหาร 4
ในพรหมวิหารทั้ง 4 ประการนี้ แต่ละอย่าง มีอกุศลธรรมที่เป็นข้าศึกอย่างละ 2 คือ ข้าศึก
ใกล้และข้าศึกไกล
1. ข้าศึกของเมตตา
ราคะเป็นข้าศึกใกล้ของเมตตาพรหมวิหาร เพราะเห็นว่าเป็นคุณเท่ากัน เหมือนศัตรู
ของบุรุษผู้เที่ยวไปใกล้กัน ราคะนั้นย่อมได้โอกาส เพราะฉะนั้น พึงรักษาเมตตาให้ดีอย่าให้
เปลี่ยนเป็นราคะ
พยาบาท เป็นข้าศึกไกล เพราะมีความเข้าไม่ได้โดยส่วนของตน เหมือนศัตรูของบุรุษ
ซึ่งอาศัยอยู่ในป่าเขา เป็นต้น เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติ จึงแผ่เมตตาออกไปโดยไม่ต้องกลัวต่อ
พยาบาท เพราะว่า บุคคลแผ่เมตตาพร้อมๆ กับโกรธไปด้วย เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้
2. ข้าศึกของกรุณา
โทมนัส ความเสียใจที่อาศัยกามคุณเป็นข้าศึกใกล้ เพราะมีส่วนเข้ากันได้โดยมองใน
แง่ความวิบัติของสัตว์ทั้งหลายเหมือนกัน โทมนัสอาศัยกามคุณมีมาในบาลีมัชฌิมนิกาย
อุปริปัณณาสก์ ว่า
บุคคลเมื่อเล็งเห็นความไม่ได้เฉพาะซึ่งรูปที่รู้ได้ด้วยจักษุ อันน่า
ปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ เป็นที่รื่นรมย์แห่งใจ ประกอบด้วยโลกามิส
โดยเป็นของอันตน ไม่ได้เฉพาะหรือหวนระลึกถึงรูปที่เคยได้เฉพาะในกาล
ก่อนอันล่วงไปแล้วอันดับไปแล้ว แปรปรวนไปแล้ว ย่อมเกิดโทมนัส โทมนัส
เช่นนี้ เราเรียกว่า โทมนัสอาศัยเรือน
วิหิงสา ความเบียดเบียน, ความซ้ำเติม เป็นข้าศึกไกลของกรุณา เพราะเข้ากันไม่ได้
โดยส่วนของตน ด้วยเหตุนี้ผู้ปฏิบัติจึงสามารถเจริญกรุณาโดยไม่ต้องกลัวต่อวิหิงสา เพราะว่า
บุคคลเจริญกรุณาไปด้วยจักเบียดเบียนสัตว์ไปด้วยในขณะเดียวกัน ไม่ใช่สิ่งที่จะทำได้
1
สฬายตนวิภังคสูตร, มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่ม 23 ข้อ 627 หน้า 288 - 289.
พ ร ห ม วิ ห า ร 4 DOU 27