ความเข้าใจเกี่ยวกับความเป็นปฏิกูลของอาหารในร่างกาย MD 407 สมาธิ 7  หน้า 119
หน้าที่ 119 / 149

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เน้นการพิจารณาความเป็นปฏิกูลของอาหารที่เราเข้าไปบริโภค ซึ่งก่อให้เกิดส่วนประกอบที่ไม่สะอาดในร่างกาย มีการเน้นย้ำว่าท้องของเราคล้ายมหาสมุทรที่จะต้องรับสิ่งสกปรกต่าง ๆ อาหารที่เรากินเข้าไปจะมีทั้งน้ำดี เสมหะ หนอง และเลือด ที่หมักหมมรวมกันในกระเพาะอาหารตลอดช่วงชีวิต เห็นได้ชัดว่าอาหารที่ผ่านการย่อยแล้วไม่สามารถบริสุทธิ์เป็นอวัยวะในร่างกายได้อย่างที่เราคาดหวัง การเปรียบเทียบต่าง ๆ ทำให้เห็นภาพของความน่าเกลียดของอาหารโดยรวมในร่างกายเช่นเดียวกับขยะที่สะสมอยู่ในบ่อ ซึ่งโน้มน้าวให้เราตระหนักถึงความสำคัญของสุขอนามัยในการบริโภคอาหารมากยิ่งขึ้น.

หัวข้อประเด็น

- ความเป็นปฏิกูลของอาหาร
- ผลกระทบของอาหารที่บริโภค
- สุขอนามัยในกระเพาะอาหาร
- การย่อยอาหารและผลที่เกิดขึ้น
- การเปรียบเทียบอาหารกับสารอื่น ๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นี่ไม่รวมอาหารที่เราได้บริโภคไว้ในชาติก่อน ๆ ผู้รู้จึงกล่าวอุปมาไว้ว่า ท้องของเราเหมือน มหาสมุทรประจำร่างกาย การบริโภคจึงเป็นสิ่งที่น่าเกลียด ดังกล่าวมานี้ 4. อาสยโต พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยที่อยู่ว่า ธรรมดาอาหารที่กลืนเข้าไปในร่างกาย แล้วต้องมีดี เสมหะ หนอง เลือด ออกมาคลุกเคล้าปะปน แม้พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระเจ้าจักรพรรดิ ซึ่งถือว่าเป็นผู้บริสุทธิ์สะอาดก็ยังต้องมีสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ส่วนคน ธรรมดาย่อมมีครบทั้ง 4 อย่าง ใครที่มีน้ำดีมาก อาหารก็เหมือนถูกคลุกเคล้าด้วยน้ำมันมะซาง ถ้ามีเสมหะมากก็เหมือนคลุกเคล้าด้วยน้ำกากะทิง ถ้ามีหนองมากก็เหมือนคลุกเคล้าด้วย เปรียงเน่า ถ้ามีโลหิตมากก็เหมือนย้อมอาหารด้วยสีย้อมผ้า ที่อยู่ของอาหารจึงมีอาการน่าเกลียด ดังกล่าวมานี้ 5. นิธานโต พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยเป็นที่หมักหมมรวมกันของอาหารว่า อาหาร ที่เรากินเข้าไปเปื้อนน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด หมักหมมรวมกันอยู่ในกระเพาะที่สกปรกโสโครก ถ้วยชามภาชนะเราใช้แล้วยังขัดล้างทำความสะอาด แต่กระเพาะอาหารเป็นที่ใส่อาหารที่ แปดเปื้อนไปด้วยน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด ไม่เคยล้างตลอดเวลา 20, 30, 40 ปี แห่งอายุ ของเรา และทุกวันยังมีอาหารใหม่หมักหมมทับถมลงไปอีก 6. อปริปกุกโต พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยยังไม่ย่อยว่า อาหารที่บริโภคเข้าไปทั้งเก่า และใหม่ที่ลงไปหมักอยู่ในกระเพาะ อันเป็นที่โสโครกยิ่ง คละเคล้ารวมกันทั้งน้ำดี เสมหะ หนอง เลือด ซากของสัตว์ต่าง ๆ มีกลิ่นเหม็นเน่า คลุกกันอยู่ มิได้แยกออกจากกัน ไฟธาตุสำหรับ ย่อยอาหาร ทำให้อาหารร้อนเป็นฟองเดือดปุดๆ บูดเป็นฝาโสโครกเหมือนกองขยะที่อยู่ในหลุม น้ำฝนตกลงมาขัง พอถูกแดดเผาก็เป็นฟองเหม็นเน่า น่าเกลียดชัง อยู่ในที่มืดแฉะ เป็นดังป่าช้า ฝังซากสัตว์ต่าง ๆ ที่กินลงไป มีสภาพน่าสะอิดสะเอียน 7. ปริปกุกโต พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยย่อยแล้วว่า การถลุงแร่ธาตุต่าง ๆ เมื่อทำ เสร็จแล้ว ย่อมได้แร่บริสุทธิ์สวยงาม เช่น เงิน ทอง ดีบุก ทองแดง แต่อาหารที่ถูกย่อยแล้ว ไม่บริสุทธิ์สวยงามดังแร่ แต่กลายเป็นอุจจาระไปขังอยู่ในกระเพาะอุจจาระเป็นก้อนๆ เหมือน ดินเหลืองที่เขาบดให้ละเอียดแล้วใส่ไว้ในกระบอกไม้ไผ่น้อย ยาวประมาณ 8 องคุลี แต่มีกลิ่นเหม็น ร้ายกาจรุนแรง อาหารที่ย่อยแล้วอีกส่วนหนึ่งกลายเป็นน้ำปัสสาวะอยู่ในกระเพาะปัสสาวะ เป็น สิ่งน่าเกลียดทั้งนั้น 8. ผลโต พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยผลที่สำเร็จว่า อาหารที่ย่อยแล้วกลายเป็น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง กระดูก เป็นอวัยวะต่าง ๆ แม้จะย่อยออกมาได้ดีดังนั้น ก็เป็นเพียงเหมือน 110 DOU สมาธิ 7 : ส ม ถ ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More