การพิจารณาอสุภะในทางปฏิบัติ MD 407 สมาธิ 7  หน้า 19
หน้าที่ 19 / 149

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายถึงการพิจารณาอสุภะ โดยเฉพาะการดูอาการต่างๆ ของศพ เช่น ช่องตา ช่องหู และลักษณะอื่น ๆ ที่ทำให้ผู้ปฏิบัติได้มีจิตใจที่ตั้งมั่นในอสุภะ นอกจากนี้ยังให้ข้อแนะนำในการเจริญอสุภะเพื่อนำไปสู่การเข้าถึงพระธรรมกาย โดยยกตัวอย่างการพิจารณาศพอุทธุมาตกะที่พองอืด และการบริกรรมเมื่อภาพนิมิตปรากฏ

หัวข้อประเด็น

-การพิจารณาศพ
-อาการของศพ
-นิมิตในการปฏิบัติ
-การเจริญอสุภะ
-พระธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2. พิจารณาโดยอาการ 5 ได้แก่ 1. ดู ส่วนต่อ หรือ ที่ต่อ ให้รู้ว่าในสรีระร่างกายของศพมีส่วนต่อใหญ่ๆ อยู่ 14 แห่ง คือ มือขวามีที่ต่อ 3 แห่ง มือซ้ายมีที่ต่อ 3 แห่ง เท้าขวามีที่ต่อ 3 แห่ง เท้าซ้ายมีที่ต่อ 3 แห่ง คอมีที่ต่อ 1 แห่ง และเอวมีที่ต่อ 1 แห่ง 2. ให้ดู ช่อง เช่น ช่องตา ช่องหู ช่องจมูก ช่องปาก ช่องท้อง ศพหลับตาหรือ ลืมตา อ้าปากหรือหุบปาก 3. ให้ดู หลุม หรือส่วนที่เว้าลงไป พิจารณาดูที่หลุมตา ภายในปาก หลุมคอ เป็นต้น 4. ให้ดู ที่ดอน หรือส่วนที่นูนขึ้น โดยให้กำหนดรู้ว่าส่วนที่นูนนี้ คือ หัวเข่า คือ หน้าผาก หน้าอก เป็นต้น 5. ให้ดู ทั่วไปรอบ ๆ ด้านของศพ ที่ตรงไหนปรากฏชัด ก็ตั้งจิตไว้ที่ตรงนั้น พิจารณาว่าเป็นลักษณะของศพประเภทใด เช่น ความพองอืดปรากฏชัด ก็ บริกรรมว่า อุทธุมาตก์ ปฏิกูล (ศพพองอืดนี้น่าเกลียด น่าขยะแขยง) หรือ เห็นศพที่มีสีเขียวคล้ำปรากฏชัด ก็บริกรรมว่า วินีลก์ ปฏิกูล (ศพวินีลกะ หรือ ศพเขียวคล้ำนี้ น่าเกลียด น่าขยะแขยง) ศพลักษณะอื่น ๆ ก็เช่นเดียวกัน ใน ขณะที่บริกรรมก็ให้ตั้งจิตกำหนดลงที่ลักษณะตรงส่วนนั้น ๆ ของศพ นักปฏิบัติจึงถือเอานิมิตจากร่างศพนั้นตามวิธีการที่กล่าวมาแล้ว ลืมตาดูจับเอาเป็น นิมิต หลับตานึกถึง ร้อยครั้ง พันครั้ง นึกบ่อยๆ จนกระทั่งอสุภนิมิตปรากฏชัด หากการพิจารณาใน ป่าช้า ไม่สามารถทำนิมิตให้ปรากฏได้ นักปฏิบัติก็ควรกำหนดนิมิตนั้นเป็นอารมณ์ ตั้งจิตไว้ใน อสุภะแม้เมื่อออกจากป่าช้า ในไม่ช้านิมิตก็จะปรากฏมั่นคงขึ้นได้ 1.4 วิธีการเจริญอสุภะ 10 เพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เมื่อได้พิจารณาอสุภะโดยอาการ 11 ดังกล่าวมาแล้ว ในการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึง พระธรรมกาย นักปฏิบัติจะต้องนึกนิมิตนั้นไว้ที่ศูนย์กลางกาย โดยมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันใน อสุภะทั้ง 10 ประเภท ดังต่อไปนี้ 1. อุทธุมาตกอสุภ หรือศพที่ขึ้นอืดพอง ให้พิจารณาความน่าเกลียดของศพว่า พองอืด แล้วน้อมภาพศพที่พองอืดมาไว้ที่ศูนย์กลางกาย พร้อมบริกรรมว่า อุทธุมาตก์ ปฏิกูล ๆ ๆ (ศพอุทธุมาตกะ พองอืด น่าเกลียด น่าขยะแขยง) บริกรรมซ้ำแล้วซ้ำเล่า ลืมตาดูและหลับตา 10 DOU สมาธิ 7 : ส ม า ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More