วิธีการเจริญอรูปกัมมัฏฐาน MD 407 สมาธิ 7  หน้า 102
หน้าที่ 102 / 149

สรุปเนื้อหา

ผู้ปฏิบัติต้องมีความเข้าใจในโทษของรูปและออกจากกสิณเพื่อเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน โดยทำการเพิกกสิณทั้ง 9 เพื่อเข้าใจในอากาศที่ไม่สิ้นสุด ซึ่งไม่มีจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุด มิลินทปัญหาได้อธิบายถึงคุณของอากาศไว้มากมาย และการปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติหลีกหนีจากรูปที่เป็นอุปสรรคในการเจริญภาวนาและสามารถเข้าสู่อากาสานัญจายตนฌานได้

หัวข้อประเด็น

- โทษของรูป
- การเข้าถึงอากาสานัญจายตนฌาน
- การปฏิบัติอรูปกัมมัฏฐาน
- ความหมายของอากาศ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

3.3 วิธีการเจริญอรูปกัมมัฏฐาน ผู้ปฏิบัติเมื่อเห็นโทษในรูปว่ารูปนี้ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนก่อให้เกิดการทะเลาะวิวาท จับศัสตราอยู่แย่งชิงกันอยู่ จึงเกิดความเบื่อหน่าย บำเพ็ญฌานด้วยอำนาจกสิณทั้ง 9 (เว้นอากาศ- กสิณ) เมื่อได้เข้าถึงรูปฌานแล้ว ก็เห็นโทษในรูปแห่งกสิณซึ่งมีส่วนเปรียบด้วยรูปหยาบอยู่ จึงใคร่ จะก้าวล่วงรูปกสิณนั้นไป เปรียบเหมือนคนกลัวงูถูกงูไล่ จึงหนีไปโดยเร็ว เห็นใบตาลหรือเถาวัลย์ ที่มีลวดลายคล้ายงู ก็สะดุ้งกลัว หรือเหมือนคนที่เป็นศัตรู ถูกจองเวร ทำร้าย เบียดเบียนอยู่ จึง ย้ายไปที่อื่นเพื่อพักอาศัย ครั้นได้เห็นคนที่มีลักษณะหน้าตา และเสียงพูดคล้ายศัตรู ก็ย่อมจะ สะดุ้งกลัว ไม่ต้องการเห็นเลย ฉันใด เวลาที่เห็นรูปหยาบเป็นโทษ ก็เหมือนเวลาที่ถูกงูกัดหรือ ถูกศัตรูทำร้าย เวลาที่ก้าวล่วงรูปหยาบไปได้ ด้วยอำนาจรูปฌานก็เหมือนการหนึ่งไปและ การย้ายบ้านไป การกำหนดกสิณรูปว่าคล้ายรูปหยาบ ก็เหมือนการได้เห็นใบตาล เถาวัลย์ที่ เหมือนงู หรือเหมือนการได้เห็นคนคล้ายศัตรู จึงเกิดความกลัวใคร่จะหนีไป ดังนั้นนักปฏิบัติ ต้องการจะหลีกจากรูปกสิณอันเป็นอารมณ์แห่งจตุตถฌาน จึงสั่งสมวสีและออกจากอรูปฌาน และปฏิบัติดังต่อไปนี้ 3.3.1 อากาสานัญจายตนฌาน ผู้ต้องการถึงอากาสานัญจายตนฌานต้องกระทำอากาสบัญญัติที่ได้มาจากการเพิกกสิณ ทั้ง 9 (เว้นอากาสกสิณ) ให้เป็นอารมณ์อากาสบัญญัติที่ได้มาจากการเพิกกสิณแล้วนั้นมีชื่อว่า กสินคฆาฏิมากาสบัญญัติ ซึ่งบางทีก็เรียกกันสั้นๆ ว่า อากาสบัญญัติ เท่านั้นก็ได้ ให้นึกหน่วงเอาอากาสบัญญัติเป็นอารมณ์ โดยบริกรรมในใจว่า อากาโส อนตฺโต อากาโส อนนฺโต อากาศไม่มีที่สิ้นสุดๆ คำว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุดนี้ มีความหมายว่า ธรรมดาอากาศนั้นเป็นบัญญัติ หาใช่ ปรมัตถ์ไม่ ฉะนั้นจึงไม่มีเบื้องต้น คือ การอุบัติขึ้น และไม่มีเบื้องปลาย คือ การดับไป นี้แหละ ที่เรียกว่า อนตฺโต ส่วนบริกรรมนั้นจะใช้แต่เพียง อากาโส อากาโส หรือ อากาศ อากาส เท่านี้ ก็ได้ หน้า 382. 1 ในคัมภีร์มิลินทปัญหา ตอนนิพพานปัญหา” ได้แสดงคุณของอากาศไว้ 10 ประการ พระธรรมมหาวีรานุวัตร มิลินทปัญหา ฉบับพร้อมอรรถกถา ฎีกา (กรุงเทพฯ:ลูก ส. ธรรมภักดี, 2528), อ รู ป กั ม ม ฏ ฐ า น DOU 93
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More