ข้อความต้นฉบับในหน้า
ภายในลำไส้ กำหนดยังคมังคานุสาริวาต โดยเป็นลมแล่นไปตามอังคาพยพใหญ่น้อย กำหนด
จับอัสสาสะปัสสาสะ โดยเป็นลมหายใจเข้าและหายใจออก แล้ว ยังมนสิการให้เป็นไปในวาโย
โกฏฐาสทั้งหลายอย่างนี้ว่า
4.1 ลมขึ้นเบื้องบนทั้งหลาย เป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ไม่มีความคิด เป็น
ของกลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณมีอาการกระพือไปมา เป็นวาโยธาตุ
4.2 ลมลงเบื้องล่างทั้งห
ทั้งหลาย เป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด
เป็นของกลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณมีอาการกระพือไปมา เป็นวาโยธาตุ
4.3 ลมอยู่ในท้อง (นอกลำไส้) ทั้งหลาย เป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มี
ความคิด เป็นของกลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณ มีอาการกระพือไปมา เป็นวาโยธาตุ
4.4 ลมอยู่ในลำไส้ทั้งหลาย เป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็น
ของกลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณมีอาการกระพือไปมา เป็นวาโยธาตุ
ๆ
4.5 ลมแล่นไปตามอังคาพยพใหญ่น้อยทั้งหลายเป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้
ไม่มีความคิด เป็นของกลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณมีอาการกระพือไปมา เป็นวาโยธาตุ
4.6 ลมหายใจเข้าและหายใจออกทั้งหลาย เป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้
ไม่มีความคิด เป็นของกลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณ มีอาการกระพือไปมา เป็นวาโยธาตุ
ธาตุทั้งหลายย่อมจะปรากฏแก่นักปฏิบัตินั้น ผู้มีมนสิการเป็นไปอย่างนี้ เมื่อเธอ
พิจารณาซึ่งธาตุเหล่านั้น แล้ว ๆ เล่าๆ อุปจารสมาธิย่อมจะเกิดขึ้น
แต่เมื่อนักปฏิบัติเจริญไปอย่างนั้น กัมมัฏฐานยังไม่สำเร็จ นักปฏิบัติผู้นั้นพึงเจริญ
โดยสลักขณสังเขปต่อไป
3) เจริญโดยสลักขณสังเขป
คือ พิจารณาโกฏฐาสทั้งหลายเข้าเป็นหมู่ๆ ตามลักษณะของธาตุนั้น
โดยกำหนดเอาลักษณะที่แขนแข็งในโกฏฐาส 20 ว่า ธาตุดิน จึงกำหนดเอาลักษณะที่
ซึมซาบได้ในโกฏฐาส 20 นั้นว่า ธาตุน้ำ จึงกำหนดเอาลักษณะที่ร้อนในโกฏฐาส 20 นั้นว่า ธาตุไฟ
พึงกำหนดเอาลักษณะที่เขยื้อนได้ในโกฏฐาส 20 นั้นว่า ธาตุลม
พึงกำหนดเอาลักษณะที่ซึมซาบในโกฏฐาส 12 ว่า ธาตุน้ำ จึงกำหนดเอาลักษณะที่
ร้อนในโกฏฐาส 12 นั้นว่า ธาตุไฟ จึงกำหนดเอาลักษณะที่เขยื้อนได้ในโกฏฐาส 12 นั้นว่า ธาตุลม
จตุธาตุววัตถา น DOU 133