ข้อความต้นฉบับในหน้า
สมควรแก่ตน
ชื่อว่าธรรม เพราะทรงลักษณะธรรมชาติของตนและเข้าไปทรงอยู่ได้ชั่วขณะอัน
ชื่อว่า ไม่เที่ยง เพราะจะต้องเสื่อมสลายไป
ชื่อว่า เป็นทุกข์ เพราะเป็นสภาพมีอันตราย
ชื่อว่า มิใช่ตน เพราะหาสาระมิได้
7. วินิพโภคาวินิพโภคโต โดยความแยกออกจากกันได้และแยกไม่ได้กล่าวคือ
ธาตุเหล่านี้แบ่งแยกได้เฉพาะแต่ลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน แต่อวินิพโภครูป คือ สี กลิ่น รส โอชา
ปฐวี อาโป เตโช วาโย แยกไม่ได้
8. สภาควิสภาคโต
โดยความเข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ คือ ปฐวีและอา
โปธาตุ เข้ากันได้โดยเป็นของหนักเหมือนกัน เตโชและวาโยธาตุ เข้ากันได้โดยเป็นของเบา
เหมือนกัน 2 ธาตุตอนต้นกับ 2 ธาตุตอนหลังเข้ากันไม่ได้ เพราะพวกหนึ่งหนัก พวกหนึ่งเบา
9. อชฺฌตฺติกพาหิรวิเสสโต โดยความแปลกกันแห่งธาตุภายในกับธาตุภายนอก
คือ ธาตุที่เกิดอยู่ในร่างกายสัตว์ทั้งหลายนี้เป็นที่อาศัยของปสาททั้ง 5 (จักขุปสาท โสตปสาท
ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท) อินทรีย์ (อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์) วิญญัติรูป 2
(กายวิญญัติ วจีวิญญัติ) ประกอบไปด้วยอิริยาบถทั้ง 4 และเกิดจากสมุฏฐานทั้ง 4 ครบบริบูรณ์
(อัชฌัตติกวิเสส) ส่วนธาตุทั้ง 4 ที่เกิดภายนอกสัตว์ มิได้เป็นที่อาศัยเกิดของรูปต่าง ๆ ดังกล่าว
ไม่ประกอบด้วยอิริยาบถใหญ่น้อย สมุฏฐานมีไม่ครบ 4 มีแต่อุตุสมุฏฐานอย่างเดียว (พาหิรวิเสส)
10. สงฺคโห
โดยความรวมเข้ากันได้ คือ กำหนดเอาธาตุทั้ง 4 ที่มี
สมุฏฐานเหมือนกันรวมไว้ในหมวดเดียวกัน เช่น ปฐวีธาตุที่เกิดจากกรรมเป็นสมุฏฐาน
นับสงเคราะห์ไว้พวกเดียวกับธาตุอื่น ๆ ที่มีกรรมเป็นสมุฏฐานเหมือนกันธาตุที่เหลือทั้ง 3 ก็เป็นไป
ในทำนองเดียวกัน แยกไปตามสมุฏฐานที่เหลือ ทั้ง จิต อุตุ อาหาร
11.ปจฺจยโต
โดยความเป็นปัจจัยของกันและกัน คือ ธาตุดินซึ่งติดกันอยู่
โดยอาศัยธาตุน้ำ มีธาตุไฟช่วยรักษาไว้ มีธาตุลมเป็นตัวช่วยพยุงไว้เป็นปัจจัยโดยความเป็นที่อยู่
ของธาตุทั้ง 3 ธาตุน้ำตั้งอยู่ในธาตุดิน มีธาตุไฟช่วยรักษาไว้ มีธาตุลมเป็นตัวตัวช่วยพยุงไว้เป็น
ปัจจัยโดยความเป็นเครื่องยึดให้ติดกันแห่งธาตุทั้ง 3 นอกจากนี้ไว้ด้วยกัน ธาตุไฟซึ่งอยู่บน
ธาตุดิน มีธาตุน้ำยึดให้ติดกัน มีธาตุลมช่วยพยุงไว้ เป็นปัจจัยโดยความเป็นเครื่องทำให้อุ่นแห่ง
ธาตุ 3 อย่างนอกนี้ ธาตุลม ตั้งอยู่บนธาตุดิน มีธาตุน้ำยึดให้ติดกัน มีธาตุไฟเป็นตัวทำให้อุ่น
จตุธาตุ
ตัว วั ต ถ า น DOU 137