ลักษณะและประเภทของธาตุในธรรมชาติ MD 407 สมาธิ 7  หน้า 145
หน้าที่ 145 / 149

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะและการระบุธาตุในธรรมชาติ ตามปัจจุบัน อธิบายถึงธาตุต่างๆ เช่น ปฐวีธาตุที่มีความแข็ง, อาโปธาตุที่มีการไหล, เตโชธาตุที่อบอุ่น, และวาโยธาตุที่มีความเคร่งตึง รวมถึงการกำเนิดและความแตกต่างของธาตุแต่ละชนิดในรูปแบบที่ไม่เสถียร ยกตัวอย่างการปรากฏของสีและรูปร่างของธาตุต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลักษณะจริง นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงกำเนิดของร่างกายและองค์ประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรม จิต ฤดู และอาหาร ความแตกต่างระหว่างธาตุกับลักษณะและคุณสมบัติของแต่ละธาตุสามารถวิเคราะห์เพื่อเข้าใจถึงสภาพธรรมชาติได้ดีขึ้น.

หัวข้อประเด็น

-ลักษณะของธาตุ
-ประเภทของธาตุ
-การปรากฏของธาตุ
-กำเนิดและสมุฏฐาน
-ความแตกต่างและความเหมือนกันของธาตุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ปรากฏ 4. ลกฺขณาทิโต โดยลักษณะ รส ปัจจุปัฏฐาน กล่าวคือ ปฐวีธาตุ มีความแข็งเป็นลักษณะมีการทรงอยู่เป็นกิจ มีการรองรับรูปอื่นเป็นอาการ อาโปธาตุ มีการไหลหรือเกาะกุมเป็นลักษณะ ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วยมีความเจริญ เป็นกิจ มีความเกาะกุมรูปที่เกิดร่วมกันให้เป็นกลุ่มเป็นก้อนเป็นอาการปรากฏ เตโชธาตุ หรือ เตโชรูป มีความอบอุ่นเป็นลักษณะ ทำให้รูปเกิดร่วม สุกงอม เป็นกิจ ทำให้รูปที่เกิดร่วมด้วย ให้อ่อนนิ่ม เป็นอาการปรากฏ ปรากฏ วาโยธาตุ มีความเคร่งตึง เป็นลักษณะ มีการไหว เป็นกิจ มีการเคลื่อนย้าย เป็นอาการ 5. สมุฏฐานโต โดยสมุฏฐาน หรือโดยกำเนิดทั้ง 4 ดังนี้คือ กรรม จิต ฤดู และอาหาร โดยในส่วนของร่างกายต่างๆ 32 ส่วน อาหารใหม่ อาหารเก่า หนอง มูตร เกิด จากฤดู น้ำตา เหงื่อ น้ำลาย น้ำมูก เกิดจากฤดูและจิต ไฟซึ่งเป็นตัวย่อยอาหารที่บริโภค (ปาจกเตโช) เป็นต้น เกิดจากกรรม ลมหายใจเข้าออก เกิดจากจิต ที่เหลือทั้งหมดเกิดจากกำเนิด ทั้ง 4 อย่าง 6. นานาตเอกตุตโต โดยความต่างกันและเหมือนกัน ธาตุทั้งหมดต่างกันโดย ลักษณะ คือ ปฐวีธาตุก็มีลักษณะ รส และปัจจุปัฏฐานต่างจากอาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ แต่เหมือนกันโดยเป็นรูป มหาภูต ธาตุ ธรรม และเป็นของไม่เที่ยง เป็นต้น ธาตุทั้งหมดชื่อว่าเป็นรูป เพราะธาตุทั้งปวงไม่ล่วงพ้นจากลักษณะความทรุดโทรม ไปได้ ชื่อว่ามหาภูต เพราะเป็นรูปร่างที่แปลกประหลาด คือ ธาตุเหล่านี้แสดงตัวให้ปรากฏโดย การเปลี่ยนสภาพให้แตกต่างจากสภาพที่แท้จริง คือ ตัวเองไม่ได้เป็นสีเหลืองก็แสดงสภาพเป็น สีเหลืองได้ ไม่ได้เป็นสีแดงก็แสดงสภาพเป็นสีแดงได้ ไม่ได้เป็นสีขาวก็แสดงรูปเป็นสีขาวได้ เปรียบเหมือนนักเล่กลเอาน้ำซึ่งไม่ได้เป็นแก้วมณีมาทำให้เป็นแก้วมณี ทำก้อนหินที่ไม่ใช่ทองให้ เป็นทอง แสดงตัวเองเป็นยักษ์ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่ยักษ์ ธาตุทั้งหลายก็ฉันนั้น แม้ว่าจะไม่ใช่สีคราม สีเหลือง สีแดง แต่ก็ปรากฏเป็นสีเหล่านั้นได้ แม้จะไม่ใช่มนุษย์หรือสัตว์ แต่ก็ปรากฏรูปเหล่านั้นได้ 1 2 3 ลักษณะ คือ สภาพที่มีอยู่โดยเฉพาะประจำตัวของธรรมนั้นๆ รส คือ หน้าที่การงานของธรรมนั้น ๆ ฟัง กระทำตามลักษณะของตน หรือเรียกว่า กิจ ปัจจุปัฏฐาน คือ อาการที่ปรากฏจากรสนั้น 136 DOU ส ม า ชิ 7 : ส ม ถ ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More