ข้อความต้นฉบับในหน้า
3.3.2 วิญญาณัญจายตนฌาน
อากาสานัญจายตนฌานลาภีบุคคล ผู้มีวสีภาวะทั้ง 5 ในอากาสานัญจายตนฌาน
จึงจะสามารถเจริญสมถภาวนาเพื่อให้ถึงวิญญาณัญจายตนฌานได้
คล่องแคล่วเป็นอย่างดีแล้ว
ในการเจริญให้ถึง วิญญาณัญจายตนฌาน ก็มีนัยเป็นทำนองเดียวกับอากาสานัญจาย
ตนฌาน คือ ชั้นต้น ต้องไม่พะวงในกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ คือ อากาสบัญญัติ แต่ให้ไปใส่ใจใน
อากาสานัญจายตนฌานที่ตนถึงแล้วและดับไปแล้วนั้น โดยการพยายามพรากใจออกจาก
อากาสบัญญัตินั้นเสีย พากเพียรยึดเหนี่ยวให้อากาสานัญจายตนฌานมาปรากฏแทนโดยบริกรรม
ว่าวิญญาณ อนนต์ วิญญาณ อนนต์ หรือ วิญญาณ วิญญาณ์ มีความหมายว่า หน่วงเอาวิญญาณ
คือ ตัวที่รู้ว่าอากาศ ไม่มีที่สิ้นสุดมาเป็นอารมณ์
เมื่อพยายามเจริญอยู่อย่างนี้เรื่อยๆ ไป จนจิตใจปราศจากนิกันติตัณหา (ความติดใจ
ยินดี)ในกสิณุคฆาฏิมากาสบัญญัติ คือ อากาสบัญญัติเจริญภาวนาต่อไปจนอากาสบัญญัติที่เป็น
นิมิตกัมมัฏฐานสูญหายไปจากใจก้าวล่วงอารมณ์ที่เป็นอากาสบัญญัติซึ่งแนบแน่นในจิตใจเสียได้
ในเวลาใดแล้ว เวลานั้นอากาสานัญจายตนฌานก็ปรากฏเป็นอารมณ์ขึ้นแทน จิตที่มีอากาสา
นัญจายตนฌานเป็นอารมณ์ มีชื่อว่า วิญญาณัญจายตนฌานจิต บุคคลที่ได้ที่ถึงวิญญาณัญจาย
ตนฌานจิต เรียกว่า วิญญาณัญจายตนฌานลาภีบุคคล
เหตุที่จำเป็นต้องใส่ใจในอากาสานัญจายตนฌาน ทั้งที่มองเห็นโทษเพราะมีความจำเป็น
ต้องอาศัย จึงจะสำเร็จประโยชน์ในขั้นสูงต่อไป เหมือนมหาดเล็กที่เบื่อหน่ายพระราชา แต่จำต้อง
ทนปรนนิบัติ เพื่อยังอาชีพของตนให้รุ่งเรือง
วิญญาณัญจายตนฌาน เรียกว่า ทุติยารุปปฌาน ก็ได้ อันมีความหมายว่า เป็นการได้
การถึงฌานที่มีอารมณ์อันไม่ใช่รูป คือ อรูปฌานเป็นอันดับที่ 2 เป็นขั้นที่ 2
3.3.3 อากิญจัญญายตนฌาน
ผู้ต้องการเจริญสมถภาวนาเพื่อให้ได้ อากิญจัญญายตนฌาน จะต้องเป็น
วิญญาณัญจายตนฌานลาภีบุคคล ผู้มีวสีในวิญญาณัญจายตนฌานนั้นจนชำนาญคล่องแคล่ว
ทั้ง 5 ประการ
กล่าวคือ
การเจริญให้ถึงอากิญจัญญายตนฌานก็มีนัยเป็นทำนองเดียวกับวิญญาณัญจายตนฌาน
อ รู ป กั ม ม ฏ ฐ า น DOU 95