ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.2.4 อารมณ์และสิ่งประหาร
การเจริญพรหมวิหาร 4 นั้น แต่ละอย่างมีอารมณ์และสิ่งที่ประหาร คือ
1.เมตตา มี ปิยมนาปสัตวบัญญัติ คือ มีสัตว์อันเป็นที่รักเป็นอารมณ์ในการแผ่
เมตตาจิต ซึ่งประหารโทสะ ความโกรธ ความพยาบาท ความมุ่งร้าย ความทำลาย
2. กรุณา มี ทุกข์ตสัตวบัญญัติ คือ สัตว์ที่กำลังได้รับความทุกข์เป็นอารมณ์ในการแผ่
ความกรุณา ซึ่งประหารวิหิงสา ความเบียดเบียน ความซ้ำเติม
3. มุทิตา มี สุขิตสัตวบัญญัติ คือ สัตว์ที่กำลังมีความสุขความสบายอยู่เป็นอารมณ์
ในการที่พลอยชื่นชมยินดีไปด้วย ซึ่งประหารอิสสา ความริษยา เห็นเขาได้ดีก็ทนอยู่ไม่ได้ อรติ
ความไม่ยินดีด้วย
4. อุเบกขา มีมัชฌัตตสัตวบัญญัติคือสัตว์ที่ไม่มีทุกข์แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นสุขนั้นเป็นอารมณ์
ในการที่วางเฉยต่อสัตว์นั้นๆ ซึ่งประหารอคติ (ความลำเอียงเพราะชอบกัน เพราะซังกัน เพราะ
ลุ่มหลงเมามัว หรือเพราะกลัวเขา)
2.3 วิธีเจริญเมตตาภาวนา
เมตตา ความปรารถนาดี ความรักใคร่ในสัตว์ทั้งหลาย เป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นในใจ มี
สภาวะปราศจากความโกรธในปิยมนาปสัตว์ (สัตว์ผู้เป็นที่รักที่ชอบใจ) นำความรู้สึกนี้มาเป็น
อารมณ์กัมมัฏฐาน ปิยมนาปสัตว์หรือปิยมนาปบุคคล มีอยู่ด้วยกันสองประเภท
ประเภทที่ 1 เป็นที่รักที่ชอบใจธรรมดา เช่น ญาติสนิทมิตรสหาย คนใกล้ชิด คนที่ถูกใจ
ประเภทที่ 2 เป็นประเภทที่เกิดขึ้นได้ด้วยการเจริญภาวนาคือในขณะที่เจริญภาวนาด้วย
การแผ่เมตตานั้น ในระยะต้นๆ จะกระทำได้เฉพาะคนที่รักที่ชอบใจธรรมดา คือ ในประเภท ที่ 1
แต่เมื่อปฏิบัติไปถึงอุปจารสมาธิตใจในขณะนั้นจะสามารถแผ่เมตตาได้ทั่วไปในสัตว์ทั้งหลายทั้งหมด
แม้ในผู้ที่เป็นศัตรู ผู้ที่ไม่ชอบ เกลียดชัง บุคคลทั้งหลายเหล่านี้เป็นปิยมนาปสัตว์ประเภทที่ 2
เมื่อเรานึกถึงหรือมองผู้ใดด้วยความรู้สึกประกอบด้วยเมตตาแล้วจิตใจจะไม่มีความรู้สึก
เกลียดชัง มีแต่ความรักใคร่ชื่นชม
ความรักใคร่ชื่นชมนี้ยังแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดหนึ่งเป็นความรักใคร่ชื่นชมที่เป็นเมตตา
อโทสะ อีกชนิดหนึ่งเป็นความรักใคร่ชื่นชมที่เรียกว่า ตัณหาเปมะ
พ ร ห ม วิ ห า ร 4 DOU 29