ความหมายของพรหมวิหาร 4 MD 407 สมาธิ 7  หน้า 34
หน้าที่ 34 / 149

สรุปเนื้อหา

พรหมวิหาร คือ ธรรมประจำใจที่มีคุณค่า ประกอบด้วย 4 ประการ ได้แก่ เมตตา ความรักที่ปรารถนาความสุขให้ผู้อื่น, กรุณา ความสงสารช่วยเหลือผู้อื่นเมื่อมีทุกข์, มุทิตา ความยินดีเมื่อผู้อื่นมีความสุข และอุเบกขา ความเป็นกลางต่อทุกข์สุขของผู้อื่น ทั้ง 4 ช่วยควบคุมอกุศลกรรม 4 ชนิดได้แก่ พยาบาท วิหิงสา อรติ และราคะ รวมถึงแสดงถึงความเอื้ออาทรและการให้คุณค่าแก่ชีวิตผู้คนรอบข้าง

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของพรหมวิหาร
-คุณประโยชน์ของเมตตา
-คุณค่าของกรุณา
-ความสำคัญของมุทิตา
-แนวคิดเกี่ยวกับอุเบกขา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.2 ความหมายของพรหมวิหาร 4 พรหมวิหาร มีความหมายว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, ธรรมประจำใจของผู้มีคุณความดียิ่งใหญ่ มี 4 อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา 1. เมตตา คือ ความรักใคร่ ความปรารถนาจะให้เขาเป็นสุข 2. กรุณา คือ ความสงสารในสัตว์ที่ตกยากมีทุกข์, ความสงสารคิดช่วยให้พ้นทุกข์, ความ หวั่นใจเมื่อเห็นผู้อื่นมีทุกข์คิดหาทางช่วยเหลือคิดปลดเปลื้องทุกข์ของเขา 3. มุทิตา คือ ความยินดีในเมื่อสัตว์มีสุข, ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี, เห็นผู้อื่นได้ดี มีสุขก็แช่มชื่นเบิกบานใจด้วย เห็นเขาประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดี บันเทิงใจพร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุนไม่กีดกันริษยา 4. อุเบกขา คือ ความเป็นกลางต่อทุกข์สุขของสัตว์,ความวางใจเป็นกลาง ไม่เอนเอียง ด้วยความชอบหรือชัง, ความวางใจเฉยได้ไม่ยินดียินร้าย, วางเฉยเมื่อแก้ไขอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ก็เฉย หรือถ้าแก้ไขได้ก็แก้ไป แก้ไขไม่ได้ก็เฉยเสีย อุเบกขา ไม่สมน้ำหน้าไม่อิจฉาริษยาอย่างหนึ่ง อย่างใดเลย 2.2.1 สาเหตุที่มีเพียง 4 ที่มีเพียง 4 ไม่มากไปกว่านั้น เพราะเป็นธรรมะที่ใช้ปราบอกุศลกรรม 4 ชนิด อกุศลธรรมเหล่านั้น คือ พยาบาท วิหิงสา (ความเบียดเบียน) อรติ ความริษยา ไม่ยินดีด้วย) และราคะ บรรดาพรหมวิหารเหล่านั้น เมตตาใช้ปราบพยาบาท กรุณาใช้ปราบวิหิงสา มุทิตา ใช้ปราบอรติ อุเบกขาใช้ปราบราคะ อีกประการหนึ่ง เพราะการส่งใจไปในสัตว์ทั้งหลาย มีอยู่เพียง 4 อย่าง คือ ด้วยอำนาจ การนำประโยชน์ให้แก่กัน (เมตตา) การบำบัดปัดป้องสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ (กรุณา) การ พลอยยินดีกับสมบัติผู้อื่น (มุทิตา) และการสิ้นความห่วงใย (อุเบกขา) เปรียบเหมือน มารดามีบุตร 4 คน บุตร 4 คนนั้น เป็นเด็กคนหนึ่ง เป็นคนป่วยคนหนึ่ง เป็นหนุ่มสาวคนหนึ่ง และคนหนึ่งมีงานทำแล้ว มารดาย่อมปรารถนาให้บุตรคนเล็กเจริญเติบโต (เมตตา) มีความปรารถนาที่จะบำบัดความป่วยไข้ให้บุตรคนที่ป่วย (กรุณา) มีความปรารถนา ให้บุตรผู้เป็นหนุ่มสาวดำรงอยู่ในความเป็นหนุ่มสาวนาน ๆ (มุทิตา) และไม่ได้ขวนขวายวุ่นวาย ในการงานอะไรของบุตรคนที่ทำงานได้เองแล้ว (อุเบกขา) เช่นเดียวกันนักปฏิบัติผู้มี พ ร ห ม วิ ห า ร 4 DOU 25
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More