บทที่ 3 อรูปกัมมัฏฐาน MD 407 สมาธิ 7  หน้า 99
หน้าที่ 99 / 149

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงอรูปกัมมัฏฐานซึ่งเป็นการเจริญสมาธิขั้นสูงหลังจากบรรลุฌาน 4 โดยอ้างอิงจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับการเข้าถึงอรูปฌาน และการปฏิบัติที่เกิดขึ้นในทางพระพุทธศาสนา การฝึกสมาธิในพระพุทธศาสนาแตกต่างจากการฝึกนอกพระพุทธศาสนาโดยเน้นที่การรวมสมาธิและปัญญาเพื่อไปสู่การหลุดพ้นและความเป็นพระอรหันต์ ผู้ปฏิบัติจะทดลองการเจริญสมาธิจนบรรลุอรูปฌานเพื่อที่จะเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ

หัวข้อประเด็น

-อรูปกัมมัฏฐาน
-สมาธิ
-พระธรรมกาย
-ฌาน 4
-วิปัสสนา
-การหลุดพ้น

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 3 อรูปกัมมัฏฐาน ผลของการปฏิบัติสมถกัมมัฏฐานนอกเหนือจากจะทำให้บรรลุรูปฌานแล้ว อรูปฌานเป็น ผลขั้นต่อมาที่เกิดจากการสมถกัมมัฏฐาน การเข้าถึงอรูปฌานได้ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวถึง วิธีการปฏิบัติที่เรียกว่าอรูปกัมมัฏฐาน ดังนั้น ในบทเรียนนี้ นักศึกษาจะได้ศึกษาเรื่องราว เกี่ยวกับการเจริญอรูปกัมมัฏฐาน และความสอดคล้องกับการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ว่ามีส่วนเกี่ยวข้องและสอดคล้องกันอย่างไร 3.1 ความเป็นมา อรูปกัมมัฏฐานเป็นการเจริญสมาธิขั้นสูงสุดของสมถะ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่เกิดต่อจากการ บรรลุฌาน 4 ส่งผลให้ได้อรูปฌาน ซึ่งวิธีการฝึกสมาธิจนกระทั่งบรรลุอรูปฌานนี้ เป็นสิ่งที่รู้จักกัน ก่อนการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีหลักฐานแสดงว่า ในช่วงที่เจ้าชายสิทธัตถะแสวงหา ทางหลุดพ้น ก่อนการตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ได้ทรงไปศึกษาและปฏิบัติอยู่กับดาบส 2 ท่าน คือ อุทกดาบสและอาฬารดาบส ผู้ได้บรรลุอรูปฌาน 3 และอรูปฌาน 4 แต่พระองค์ก็ ทรงตระหนักว่าไม่ใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น พระองค์จึงทรงจากครูทั้งสองไป และ แสวงหาวิธีการเพื่อการหลุดพ้นด้วยพระองค์เอง ในปาสราสิสูตร ได้กล่าวถึงขั้นตอนที่เริ่มจากการเจริญสมาธิภาวนาขั้นต้น คือ การบรรลุ ฌานขั้นต่าง ๆ จนกระทั่งบรรลุอรูปฌาน และเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ จนกระทั่งสิ้นกิเลสอาสวะ ทั้งหมดเป็นขั้นตอนที่ชี้ให้เห็นหลักแห่งการเจริญสมาธิในพระพุทธศาสนา และชี้ให้เห็นความ แตกต่างของการบรรลุอรูปฌานในพระพุทธศาสนาที่แตกต่างจากนอกพระพุทธศาสนา คือ ในพระพุทธศาสนาจะมีเรื่องของวิปัสสนาเข้ามาเกี่ยวข้อง ความสมบูรณ์ของการเจริญสมาธิ ภาวนาในพระพุทธศาสนาจะเกิดขึ้นเมื่อสมาธิและปัญญาบริบูรณ์ อันนำไปสู่ความเป็น พระอรหันต์ 1 2 มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มก, เล่มที่ 18 ข้อ 317 -318 หน้า 415-417. มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มก, เล่มที่ 18 ข้อ 328 หน้า 427-429. 90 DOU สมาธิ 7 : ส ม ถ ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More