การแผ่เมตตาและการบรรเทาความโกรธ MD 407 สมาธิ 7  หน้า 58
หน้าที่ 58 / 149

สรุปเนื้อหา

การแผ่เมตตาเป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความสุขและสามารถเข้าถึงพรหมโลกรวมทั้งวิธีการบรรเทาความโกรธโดยการพิจารณาและแยกธาตุต่าง ๆ ให้เห็นว่า ธาตุเป็นสิ่งที่ไม่ควรนำมาสู่ความโกรธอย่างแน่นอน หากเรามีการพิจารณาอย่างนี้ จะช่วยให้เราเห็นธรรมชาติโดยรวมและลดหรือขจัดความโกรธออกไปได้. นอกจากนี้ การพิจารณาธาตุต่าง ๆ เช่น ดิน น้ำ ลม ไฟ รวมถึงขันธ์ 5 และอายตนะ 12 จะทำให้เราเห็นว่าไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บโกรธไว้ภายใน, เมื่อเราเข้าใจและตระหนักว่า สิ่งต่าง ๆ มีลักษณะเป็นธาตุแล้ว ความโกรธก็จะไม่อยู่ในตัวเรา ส่งผลให้เรามีจิตใจที่เป็นสุข. ทุกคนสามารถนำแนวทางนี้ไปปรับใช้ในชีวิตเพื่อการพัฒนาจิตใจและเข้าถึงความสงบได้.

หัวข้อประเด็น

-แผ่เมตตา
-บรรเทาความโกรธ
-การพิจารณาธาตุ
-สภาวธรรม
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

11. อุตฺตรี อปฺปฏิวิชฺฌนฺโต พฺรหฺมโลกปโค โหติ เมื่อมรณะแล้ว ถ้ายังไม่แทง ตลอดธรรมอันยวดยิ่ง (บรรลุพระอรหันต์) ย่อมเป็นผู้เข้าถึงสุคติอย่างสูงสุดถึงพรหมโลกได้ทันที เหมือนหลับแล้วตื่นขึ้น นี้คืออานิสงส์การแผ่เมตตาโดยย่อซึ่งเราเองเป็นผู้ที่ได้รับแต่ถ้าเรายังไม่สามารถทำจิตที่ โกรธแค้นให้ดับไปเสียได้ เราจะต้องเป็นผู้ที่พลาดหวังจากอานิสงส์เหล่านี้อย่างแน่นอน 8) บรรเทาความโกรธด้วยการพิจารณาแยกธาตุ ถ้ายังไม่สามารถทำความโกรธแค้นให้ดับไปได้ ด้วยอุบายวิธีดังกล่าว คราวนี้ให้นึกเอา คนที่เป็นศัตรูนั้นมาพิจารณาแยกออกให้เห็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุ ด้วยการพิจารณาว่า เมื่อเราโกรธเขานั้น เราโกรธอะไรเขาเล่า โกรธผมหรือขน หรือเล็บ หรือฟัน หรือหนัง หรือโกรธเนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หรือโกรธหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด หรือโกรธ ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า มันสมอง หรือโกรธ น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้นหรือโกรธน้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตรหรือ ในธาตุ 4 เราโกรธ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม หรือ เราโกรธขันธ์ 5 อายตนะ 12 หรือธาตุ 18 ในขันธ์ 5 นั้น เราโกรธ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ หรือว่า วิญญาณขันธ์ ในอายตนะ 12 นั้น เราโกรธจักขวายตนะ รูปายตนะหรือ โกรธโสตายตนะ สัททายตนะ มานายตนะ คันธายตนะ ชิวหายตนะ รสายตนะ กายายตนะ โผฏฐัพพายตนะ มนายตนะ ธัมมายตนะ หรือ ในธาตุ 18 นั้น เราโกรธจักขุธาตุ รูปธาตุ จักขุวิญญาณธาตุ หรือโกรธโสตธาตุ สัททธาตุ โสตวิญญาณธาตุ หรือโกรธมานธาตุ คันธธาตุ ฆานวิญญาณธาตุ หรือโกรธชิวหาธาตุ รสธาตุ ชิวหาวิญญาณธาตุ หรือโกรธกายธาตุ โผฏฐัพพะธาตุ กายวิญญาณธาตุ หรือ โกรธมโนธาตุ ธรรมธาตุ มโนวิญญาณธาตุ เมื่อได้พิจารณาแยกธาตุอย่างนั้นแล้ว ก็จะมองเห็นสภาวธรรมด้วยปัญญา เห็นแจ้งชัด ว่าฐานที่ตั้งของความโกรธย่อมไม่มีอยู่ในคนผู้เป็นศัตรูนั้น เพราะธาตุทั้งหลายแต่ละธาตุ มีผม เป็นต้น เป็นสิ่งที่ใครๆ ไม่ควรจะโกรธ และนอกเหนือไปจากธาตุทั้งหลายมีผมเป็นต้นแล้ว ก็หามีคนไม่ พ ร ห ม วิ ห า ร 4 DOU 49
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More