การเจริญอุเบกขาภาวนา MD 407 สมาธิ 7  หน้า 84
หน้าที่ 84 / 149

สรุปเนื้อหา

การเจริญอุเบกขาภาวนานั้น หมายถึงการวางเฉยต่อบุคคลโดยไม่รู้สึกรักหรือชัง ผู้ที่เจริญอุเบกขาจะมีมัชฌัตตสัตว์เป็นอารมณ์ที่จะรู้สึกเฉยต่อบุคคลทั้งที่อยู่ในความสุขหรือความทุกข์ การวางเฉยมีอยู่ 2 ประเภท ได้แก่ อุเบกขาแท้ซึ่งประกอบด้วยปัญญา และอุเบกขาเทียมที่ปราศจากปัญญา ขั้นตอนการเจริญอุเบกขานั้นต้องเริ่มจากการปฏิบัติธรรมที่เกี่ยวกับเมตตา กรุณา และมุทิตา เพื่อเข้าสู่ฌานขั้นต่าง ๆ ผู้ที่เจริญอุเบกขาจะสามารถดำเนินไปถึงจตุตถฌานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-อุเบกขาแท้
-อุเบกขาเทียม
-มัชฌัตตสัตว์
-การเจริญอุเบกขาภาวนา
-ขั้นตอนการปฏิบัติ
-ความรักและความเกลียด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

1. ไม่น้อมไปในความปรารถนาดี 2. ไม่น้อมไปในการบำบัดทุกข์ 3. ไม่น้อมไปในการชื่นชมยินดีในความสุขของเหล่าสัตว์แต่อย่างใดทั้งสิ้น ผู้เจริญอุเบกขาภาวนา จะมีมัชฌัตตสัตว์ (ผู้ที่เราไม่รู้สึกรักหรือชัง) เป็นอารมณ์ มัชฌัตตสัตว์หรือมัชฌัตตบุคคล มีอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทธรรมดา คือ คนที่เรารู้จักกันโดยทั่ว ๆ ไป คนที่ไม่ได้ให้คุณให้โทษอะไร แก่เรา เราย่อมรู้สึกเฉย ๆ ไม่รักไม่ชัง ประเภทที่เกิดจากอำนาจสมาธิ พวกนี้มีทั้งอติปิยบุคคล (คนที่รักยิ่ง) ปิยบุคคล (คนที่รัก) เวรีบุคคล (ศัตรู) บุคคลทั้งที่กำลังสุขหรือกำลังทุกข์ เมื่อเจริญภาวนาจนถึงภาวะ อุเบกขานั้น จะรู้สึกวางเฉยต่อบุคคลที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดโดยเท่าเทียมกัน ไม่รักหรือเกลียดชัง ไม่ว่าบุคคลประเภทใด การวางเฉยต่อสัตว์ทั้งหลายมีอยู่ 2 อย่าง คือ 1. อุเบกขาแท้ เป็นการวางเฉยที่ประกอบด้วยปัญญา วางเฉยด้วยอำนาจของ ภาวนาสมาธิ สามารถวางเฉยต่อปิยบุคคล (บุคคลอันเป็นที่รัก) เวรีบุคคล (คนคู่เวร) ที่มีสุข หรือมีความทุกข์ได้ 2. อุเบกขาเทียม คือ การวางเฉยที่ปราศจากปัญญา เป็นไปด้วยอำนาจโมหะ เมื่อ ประสบกับสิ่งที่น่ารักก็ไม่รู้จักรัก พบกับสิ่งที่น่าขวนขวายน่าอยากได้ ก็ไม่มีการขวนขวาย พยายามจะแสวงหา พบสิ่งที่น่าเคารพเลื่อมใสก็ไม่เคารพเลื่อมใส พบสิ่งที่น่าเกลียดน่ากลัว ก็ไม่รู้ จักเกลียดรู้จักกลัว พบสิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุงหรือสนับสนุนส่งเสริม ก็ไม่คิดกระทำ นิ่งเฉยเสีย อุเบกขาที่ขาดปัญญานี้ เป็นอัญญานุเบกขาหรืออุเบกขาเทียม 2.9.1 ขั้นตอนการเจริญอุเบกขาภาวนา ในการเจริญอุเบกขานี้ มีข้อที่แตกต่างจากการเจริญพรหมวิหารสามอย่างข้างต้น คือ พรหมวิหารสามอย่างข้างต้น ไม่มีการจำกัดบุคคล ใครจะปฏิบัติก็ได้และสามารถทำได้สำเร็จ ถึงขั้นตติยฌาน ส่วนการเจริญอุเบกขาภาวนา ผู้เจริญจะต้องเป็นผู้ที่ผ่านการปฏิบัติ เมตตา กรุณา มุทิตา อย่างใดอย่างหนึ่งมาก่อนจนกระทั่งบรรลุเป็นฌานลาภีบุคคล จึงจะเจริญอุเบกขาภาวนา ต่อไปได้ และสามารถปฏิบัติให้สำเร็จผลถึงรูปฌานขั้นสูงสุด คือ จตุตถฌาน ส่วนจตุตถฌานที่ เกิดจากกัมมัฏฐานชนิดอื่น เช่น การเพ่งกสิณ อานาปานสติ ไม่สามารถอุดหนุนการเจริญอุเบกขา พ ร ห ม วิ ห า ร 4 DOU 75
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More