การแผ่เมตตาและลำดับการแผ่เมตตา MD 407 สมาธิ 7  หน้า 42
หน้าที่ 42 / 149

สรุปเนื้อหา

การแผ่เมตตาเป็นกระบวนการที่สำคัญในการสร้างความสงบในจิตใจ โดยเริ่มจากการแผ่เมตตาให้ตนเองเป็นอันดับแรก จากนั้นจึงแผ่ให้กับผู้ที่รัก เกลียด และเป็นศัตรู เพื่อสร้างความร้อมในการมีเมตตาต่อผู้อื่นอย่างแท้จริง การฝึกซ้อมและการให้ความรักแก่ตนเองก่อนจะช่วยให้การแผ่เมตตาแก่ผู้อื่นเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้คำบริกรรมในการเพิ่มพลังในการแผ่เมตตาให้กับตนเองและผู้อื่น.

หัวข้อประเด็น

-ลำดับการแผ่เมตตา
-คำบริกรรมในการแผ่เมตตา
-การฝึกฝนเมตตาจิต
-ความสำคัญของการรักตนเอง
-การสร้างจิตใจที่สงบสุข

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรเจริญเมตตาปรารภผู้ที่ตายไปแล้ว 3. ลำดับการแผ่เมตตา เมื่อแผ่เมตตาให้แผ่เมตตาตามลำดับ ดังนี้ 1. อัตตบุคคล 2. ปิยบุคคล 3. อติปิยบุคคล 4. มัชฌัตตบุคคล 5. เวรีบุคคล แผ่ให้แก่ตนเอง แผ่ให้แก่ผู้ที่รักใคร่ แผ่ให้แก่ผู้ที่รักใคร่มาก แผ่ให้แก่ผู้ที่ไม่รักไม่ชัง แผ่ให้แก่ผู้ที่เป็นศัตรู ผู้ที่มีเมตตาและสามารถแผ่เมตตาได้อย่างคล่องแคล่วเชี่ยวชาญ จะต้องหมั่นฝึกฝน อยู่เสมอในชั้นต้นต้องฝึกแผ่เมตตาให้แก่ตนเองก่อน เพื่อจะได้เป็นสักขีพยานว่า ตนเองปรารถนา ความสุขเกลียดความทุกข์ ต้องการมีอายุยืน กลัวตาย ฉันใด ผู้อื่นก็ฉันนั้น อีกทั้งการแผ่เมตตาแก่ ตนเองก่อนผู้อื่นยังทำให้จิตใจเกิดความแช่มชื่นยินดีทั้งนี้เพราะความรักต่อคนอื่นหรือสิ่งอื่นแม้จะ มีมากมายเพียงใด ก็ไม่เท่าความรักที่มีต่อตัวเอง ฝึกดังนี้บ่อย ๆ ทำบ่อย ๆ เมตตาจิตก็จะ เกิดขึ้นได้โดยง่าย เกิดแล้วตั้งอยู่ได้มั่นคง คำบริกรรมในการแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง คือ ล่าดับ “อห์ อเวโร โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีศัตรูภายในและ ภายนอก อห์ อพฺยาปชฺโฌ โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความพยาบาท อห์ อนีโฆ โหมิ ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้ไม่มีความลำบากกาย ลำบากใจ พ้นจากอุปัทวภัย อห์ สุขี อตฺตานํ ปริหราม ขอข้าพเจ้าจงเป็นผู้มีความสุขกายสุขใจ รักษาตน ให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงเทอญ” เมื่อแผ่เมตตาให้แก่ตนเองได้คล่องแคล่วแล้ว ก็ขยายการแผ่ให้เป็นวงกว้างออกไปตาม พ ร ห ม วิ ห า ร 4 DOU 33
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More