ข้อความต้นฉบับในหน้า
1. น ชียติ
ไม่แก่
2. น มียติ
ไม่ตาย
3. น จวติ
ไม่จุติ
4. น อุปฺปชฺชติ
ไม่เกิด
5. อปุปสยุห์
ไม่มีใครข่มเหง
6. อโจรคหณีย์
ไม่มีโจรลัก
7. อนิสฺสินํ
ไม่มีที่พึ่งอาศัย
8. วิหงุคคมน์
เป็นทางไปของเหล่าวิหค (สัตว์ที่ไปในอากาศเวหา)
9. นิราวรณ์
ไม่มีอะไรกั้น
10. อนนต์
ไม่มีแดนที่สุด
เมื่อบริกรรมว่า อากาศไม่มีที่สิ้นสุด โดยไม่พะวงถึงนิมิตของกสิณที่จะเพิก แต่มาใฝ่ใจ
ในความว่างเปล่าของอากาสบัญญัติ การใฝ่ใจย่อมทวีกำลังมากขึ้น สติก็จะตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ
ครั้นสติตั้งมั่นแน่แน่วจนสามารถเพิกปฏิภาคนิมิตแห่งกสิณ ซึ่งเป็นนิมิตกัมมัฏฐาน
ที่ติดแนบแน่นใจอยู่นั้นเสียได้โดยเด็ดขาดในเวลาใด อากาสบัญญัติก็ปรากฏขึ้นในเวลานั้น
อากาสานัญจายตนฌานก็เกิดขึ้นพร้อมกันในทันทีนั้นด้วยเป็นอันว่าโยคีผู้นั้นถึงซึ่งอัปปนาสมาธิ
สำเร็จเป็นอากาสานัญจายตนฌานลาภีบุคคล
“อากาสานัญจายตนฌาน” นี้ มีชื่อเรียกได้เป็น 3 อย่าง คือ อรูปฌาน 1 อากาสา
นัญจายตนฌาน 1 และปฐมารุปปฌาน 1
ที่เรียกว่า อรูปฌานเพราะว่าปัญจมฌานลาภีบุคคลนี้มิได้สนใจเพ่งปฏิภาคนิมิตที่เป็น
รูปเป็นอารมณ์แต่ประการใดเลย เมื่อฌานจิตเกิดขึ้น ฌานจิตนี้ก็ปราศจากรูปเป็นอารมณ์
ดังนั้นจึงเรียกว่า อรูปฌาน
ที่เรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน เพราะว่าฌานจิตนี้มีความมั่นคง ตั้งอยู่โดยไม่
หวั่นไหว เกิดขึ้นโดยอาศัยอากาสบัญญัติ ซึ่งไม่ปรากฏเบื้องต้น คือ ความเกิด เบื้องปลาย คือ
ความดับ ดังนั้นจึงเรียกว่า อากาสานัญจายตนฌาน
ที่เรียกว่า ปฐมารุปปฌาน เพราะว่าภายหลังที่ได้เว้นจากบัญญัติกัมมัฏฐานที่
เกี่ยวกับรูปได้แล้วหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งว่าได้ก้าวล่วงอารมณ์ที่เป็นรูปกัมมัฏฐานได้แล้ว และมาถึง
ฌานที่มีอารมณ์อันไม่ใช่รูปเป็นอันดับแรก เป็นอันดับที่ 1 จึงได้ชื่อว่า ปฐมารุปปฌาน
94 DOU สมาธิ 7 : ส ม ถ ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิธี