การแสวงหาอาหารและความเป็นปฏิกูลในชีวิตของภิกษุ MD 407 สมาธิ 7  หน้า 118
หน้าที่ 118 / 149

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการแสวงหาอาหารของภิกษุที่ต้องผ่านความลำบากในสภาพอากาศต่าง ๆ และต้องพบกับความไม่สะอาดเมื่อเข้าไปในบ้าน มีการพิจารณาถึงความเป็นปฏิกูลตั้งแต่การเดินทางไปตลาด การซื้อหาอาหาร จนถึงการบริโภคอาหารที่ต้องผ่านกระบวนการควบรวมกับสิ่งสกปรกต่าง ๆ จนทำให้อาหารที่ดูดีในตอนแรกกลายเป็นสิ่งที่ไม่น่ากิน ซึ่งอธิบายถึงการจัดการชีวิตของภิกษุที่มีความอดทนและการยอมรับความไม่สะดวกในชีวิตประจำวัน โดยมุ่งหวังการแสวงหาอาหารที่จำเป็น

หัวข้อประเด็น

-ชีวิตประจำวันของภิกษุ
-การแสวงหาอาหาร
-ความปฏิกูลของอาหาร
-การบริโภคที่เป็นปัญหา
-ความอดทนในความลำบาก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สิ่งที่ไม่ดีงาม กรำแดด กรำฝน เหน็ดเหนื่อย ถ้าเป็นภิกษุก็ต้องภิกขาจารไปในสถานที่ต่าง ๆ ทั้ง ที่เฉอะแฉะ สกปรก กรำแดดกรำฝน เพื่อให้ได้อาหารมาเลี้ยงอัตภาพ 2. ปริเยสนโต พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยการแสวงหาว่า มีเงินแล้วก็ต้องไปจับจ่าย ซื้ออาหารที่ตลาด ซึ่งเป็นที่รวมของไม่สะอาดนานาชนิด เข้าร้านโน้นออกร้านนี้ ตลาดนั้นตลาดนี้ เหยียบย่ำพบเห็นสิ่งที่ไม่พอใจทั้งสิ่งของและผู้คน ลำบากยุ่งยากอยู่ไม่เว้นแต่ละวัน เมื่อซื้อ อาหารแล้ว ก็ต้องหอบหิ้วกลับมา ลำบากในการประกอบอาหาร ปรุงแต่งไปตามความต้องการ ของคนบริโภค คนนั้นชอบอย่างนี้ คนนี้ชอบอย่างนั้นต้องพลิกแพลงประดิษฐ์สับเปลี่ยนมิให้เป็นที่ เบื่อหน่าย มีแต่ความลำบากกายลำบากใจด้วยการแสวงหา ถ้าเป็นภิกษุก็ต้องเข้าไปสู่บ้าน ในฤดูฝน เท้าก็ต้องจมลงไปในโคลนเลน ในฤดูร้อนก็ ต้องเดินไปด้วยร่างกายที่เปื้อนฝุ่นละออง ถูกลมพัดบ้างเมื่อถึงประตูบ้านบางทีก็ต้องเหยียบหลุม โสโครกหรือบ่อน้ำคร่ำ ที่มีน้ำล้างปลา น้ำล้างเนื้อ น้ำซาวข้าว น้ำลาย น้ำมูก อุจจาระสัตว์ เช่น อุจจาระสุนัขหรือแมว เป็นต้น มีหมู่หนอนและแมลงวันไต่ตอม บางทีแมลงวันก็มาเกาะที่ตัวบ้าง ที่บาตรบ้าง ที่ศีรษะบ้าง เมื่อเข้าไปในบ้านคนบางบ้านก็ถวาย บางบ้านก็ไม่ถวาย บ้านที่เขาถวาย บางบ้านก็ถวายอาหารที่สุกแต่เมื่อวานบ้าง อาหารที่เก่าบ้าง ขนม แกงที่บูดแล้วบ้าง ส่วนบ้านที่ ไม่ถวาย บางบ้านก็ทำเป็นไม่เห็น บางบ้านก็พูดนิมนต์ให้ไปข้างหน้า บางบ้านก็นิ่ง ๆ บางคน ไม่ให้แล้วยังตำหนิติเตียนด่าว่าถากถาง ภิกษุก็จะต้องอดทนเดินเข้าไปในบ้านเพื่อแสวงหาอาหาร การแสวงหาอาหาร จึงเป็นสิ่งปฏิกูลดังกล่าวมานี้ 3. ปริโภคโต พิจารณาความเป็นปฏิกูลโดยการบริโภคว่า เมื่อหยิบอาหารเข้าปากแล้ว อาหารก็คละเคล้าปนกับน้ำลายใสที่ปลายลิ้นน้ำลายข้นที่กลางลิ้น ฟันล่างทำหน้าที่เหมือนครก ฟันบนทำหน้าที่เหมือนสาก ลิ้นเหมือนมือ เวลาเคี้ยวอยู่ อาหารนั้นก็แปดเปื้อนไปด้วยมูลฟันที่ ค้างติดอยู่ตามซอกฟันทั้งสีและกลิ่นของอาหารที่เคยเห็นก่อนบริโภคว่าเป็นของสวยของดีก็กลาย เป็นของน่าเกลียดไป หากลองคายออกมาแล้วให้กลืนกลับเข้าไปใหม่ก็คงกลืนไม่ลง เพราะดู น่าเกลียดเหมือนรากสุนัข แต่อาหารทุกคำที่เคี้ยวกลืนอยู่ได้นั้นเพราะเมื่อใส่ปากแล้วไม่สามารถ มองเห็นได้อีก จึงกลืนลง การบริโภคนั้นเล่าก็ไม่มีที่สิ้นสุด อิ่มไปชั่วระยะเวลาหนึ่งไม่นานก็ต้องหิว บริโภคใหม่ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่ดังนี้ อาหารที่แต่ละคนบริโภคกันมาในชาตินี้ นับแต่แรกเกิดจากครรภ์มารดา จนเติบใหญ่ ถ้าจะนำมากองแยกกันไว้ จะมีจำนวนมากมายนัก ข้าวสารอาจเป็นร้อยๆ กระสอบ น้ำอาจเท่าสระน้ำใหญ่ๆ เนื้อสัตว์ที่บริโภคคิดเป็นจำนวนตัว คงเป็นฝูง ทั้งสัตว์น้ำ สัตว์บก อ า ห าเรปฏิกูลสัญญา DOU 109
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More