ความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของอาโปธาตุในร่างกาย MD 407 สมาธิ 7  หน้า 140
หน้าที่ 140 / 149

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจสาระเกี่ยวกับอาโปธาตุในร่างกาย อธิบายลักษณะของของเหลวที่มีอาการซึมซาบ เช่น น้ำลาย น้ำมูก และไขข้อ โดยใช้การเปรียบเทียบเชิงสัญลักษณ์เพื่อทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ซึ่งอาโปธาตุถูกมองว่าเป็นสิ่งที่ปราศจากความคิดและวิญญาณในตัวของมันเอง ในขณะที่สามารถทำปฏิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัวได้อย่างน่าสนใจ สาระเหล่านี้จะช่วยให้ผู้อ่านเห็นคุณค่าของกลไกเหล่านี้ในร่างกาย และความเกี่ยวข้องที่ซับซ้อนระหว่างสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ

หัวข้อประเด็น

-แนวคิดเกี่ยวกับอาโปธาตุ
-ของเหลวและการทำงานในร่างกาย
-การเปรียบเทียบในธรรมชาติ
-ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆในร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ของเหลว มีอาการซึมซาบได้ เป็นอาโปธาตุ 2.8 วสา : มันเหลว มันเหลว คือมันที่ละลายอยู่ตามฝ่ามือ หลังมือ ฝ่าเท้า หลังเท้า ดั้งจมูก หน้าผาก และจะงอยบ่า ในเวลาที่ร้อนเพราะไฟเป็นต้น ในตำแหน่งแห่งร่างกายมีฝ่ามือเป็นต้นกับมัน เหลวนั้น ตำแหน่งแห่งร่างกายมีฝ่ามือเป็นต้น หารู้ไม่ว่ามันเหลวท่วมเราอยู่ มันเหลวเล่าก็หารู้ ไม่ว่า เราท่วมตำแหน่งแห่งร่างกายมีฝ่ามือเป็นต้นอยู่ เปรียบเหมือนในข้าวตังอันมีน้ำมันที่คน ราดไว้ ข้าวตังหารู้ไม่ว่าน้ำมันท่วมเราอยู่ น้ำมันเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราท่วมข้าวตั้งอยู่ สิ่งทั้งหลาย นั่นปราศจากความคิดคำนึง และไตร่ตรองถึงกันและกัน มันเหลวเป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งใน ร่างกายนี้ไม่มีความคิดเป็นของกลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณ เป็นของเหลว มีอาการซึมซาบได้ เป็นอาโปธาตุ 2.9 เขโฬ : น้ำลาย น้ำลายเมื่อปัจจัยให้น้ำลายออกอย่างนั้นมีอยู่มันลงจากกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างมาอยู่ ที่แผ่นลิ้น ในแผ่นลิ้นกับน้ำลายนั้น แผ่นลิ้นหารู้ไม่ว่า น้ำลายลงจากกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างมาอยู่ ที่เรา น้ำลายเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราลงจากกระพุ้งแก้มทั้งสองข้างมาอยู่ที่แผ่นลิ้น เปรียบเหมือนใน หลุมริมฝั่งแม่น้ำ อันมีน้ำซึมออกไม่ขาด พื้นหลุมหารู้ไม่ว่าน้ำอยู่ในเรา น้ำเล่าก็หารู้ไม่ว่าเราอยู่ ในพื้นหลุม สิ่งทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิดคำนึงและไตร่ตรองถึงกันและกัน น้ำลายเป็น โกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็นของกลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณ เป็น ของเหลว มีอาการซึมซาบได้ เป็นอาโปธาตุ 2.10 สิงฆาณิกา : น้ำมูก น้ำมูก เกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นมันก็ยังเต็มโพรงจมูกอยู่บ้าง ไหลออกมาบ้าง ในโพรง จมูกกับน้ำมูกนั้น โพรงจมูกหารู้ไม่ว่าน้ำมูกอยู่ในเรา น้ำมูกเล่าก็หารู้ไม่ว่าเราอยู่ในโพรงจมูก เปรียบเหมือนในเปลือกหอยโข่งที่เต็มด้วยนมส้มเสีย เปลือกหอยโข่งหารู้ไม่ว่านมส้มเสียอยู่ใน เรา นมส้มเสียเล่าก็หารู้ไม่ว่าเราอยู่ในเปลือกหอยโข่ง สิ่งทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิดคำนึง และไตร่ตรองถึงกันและกัน น้ำมูก เป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็นของ กลาง ๆ ว่างเปล่า ไม่มีวิญญาณ เป็นของเหลว มีอาการซึมซาบได้ เป็นอาโปธาตุ 2.11 ลสิกา : ไขข้อ ไขข้อ ทำกิจคือการทาที่ต่อแห่งกระดูกทั้งหลายให้สำเร็จอยู่ในที่ต่อแห่งกระดูก ประมาณ 180 แห่ง ในที่ต่อ 180 แห่งกับไขข้อนั้น ที่ต่อ 180 แห่งหารู้ไม่ว่า ไขข้อทาเราติดอยู่ จตุธาตุววั ต ถ า น DOU 131
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More