การพิจารณาอสุภะในพระพุทธศาสนา MD 407 สมาธิ 7  หน้า 18
หน้าที่ 18 / 149

สรุปเนื้อหา

พระภิกษุหนุ่มตกอยู่ในความรักจนไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ เมื่อพิจารณาอสุภะตามหลักการจากคัมภีร์วิสุทธิมรรคด้วยอาการ 11 ซึ่งแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ อาการ 6 และ 5 เพื่อสร้างนิมิตในการพิจารณาความไม่เที่ยงของร่างกายและถอนความลุ่มหลงจากรักใคร่ ด้วยการวิเคราะห์สี วัย สัณฐาน ทิศ ที่ตั้ง และขอบเขตของซากศพ สุดท้าย การพิจารณาอสุภะจะช่วยให้เกิดปฏิภาคนิมิตที่สามารถนำไปสู่การปล่อยวางจากภาวะมีอารมณ์ผูกพัน.

หัวข้อประเด็น

-ความรักและการปล่อยวาง
-อสุภกัมมัฏฐาน
-คัมภีร์วิสุทธิมรรค
-การพิจารณาอสุภะ
-ปฏิภาคนิมิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระภิกษุหนุ่มหลงรักจนกินไม่ได้นอนไม่หลับ จนมองเห็นความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ถ่ายถอนความลุ่มหลงรักใคร่ได้ในที่สุด 1.3.2 วิธีการพิจารณาอสุภะ ด้วยอาการ 11 ในการพิจารณาอสุภะโดยนัยของสมถะ ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ได้ให้หลักการในการ พิจารณาไว้โดยอาการ 11 อย่าง เพื่อให้สามารถกำหนดจำภาพ ถือเอาอสุภะนั้นเป็นนิมิตได้ โดยการพิจารณานี้ท่านแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ การพิจารณาอสุภะโดยอาการ 6 และ อาการ 5 1. พิจารณาโดยอาการ 6 ได้แก่ 1. พิจารณา สี โดยกำหนดดูว่า ศพนี้เป็นคนผิวสีอะไร เช่น ดำ ขาว หรือ เหลือง เป็นต้น 2. พิจารณา วัย โดยกำหนดดูว่า ศพนี้อยู่ในวัยใด เป็นเด็ก วัยกลางคน หรือเป็น คนชรา โดยไม่ต้องสนใจว่าเป็นเพศหญิงหรือเพศชาย 3. พิจารณา สัณฐาน โดยกำหนดดูว่า สัณฐานตรงนี้ ตรงนั้น คือ ศีรษะ คอ แขน มือ ท้อง อก เอว แข้ง ขา เท้า เป็นต้น 4. พิจารณา ทิศ โดยกำหนดว่า ในร่างนี้มี 2 ทิศ คือ ตั้งแต่สะดือขึ้นไปจนถึงศีรษะ เป็นส่วนบน ใต้สะดือลงมาเป็นส่วนล่าง หรืออีกนัยหนึ่ง กำหนดให้รู้ว่าเรายืนอยู่ ทางทิศนี้ ซากศพอยู่ทางทิศนี้ 5. พิจารณา ที่ตั้ง โดยกำหนดที่ตั้งว่า มืออยู่ตรงนี้ เท้าอยู่ตรงนี้ ศีรษะอยู่ตรงนี้ เป็นต้น หรืออีกนัยหนึ่งให้รู้ว่า เรายืนอยู่ตรงนี้ ศพอยู่ตรงนั้น 6. พิจารณา ขอบเขต • ให้รู้ว่าเบื้องต่ำสุดของซากศพ คือ พื้นเท้า เบื้องบนสุดเพียง ปลายผม ทั้งตัวสุดแค่ผิวหนัง เต็มไปด้วยของเน่าเหม็น 32 อย่าง เช่น ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เป็นต้น บุคคลที่มีบุญวาสนา ได้สั่งสมการเจริญอสุภกัมมัฏฐานไว้ในอดีต เมื่อพิจารณาด้วย อาการ 6 นี้แล้ว ปฏิภาคนิมิตย่อมเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าหากปฏิภาคนิมิตไม่เกิดขึ้น ควรพิจารณา อสุภะด้วยอาการ 5 ต่อไป 1 ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท, มก. เล่ม 42 หน้า 153. อ สุภะ 1 0 DOU 9
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More