ข้อความต้นฉบับในหน้า
แนวคิด
1. กสิณเป็นหลักปฏิบัติที่พบได้ทั้งในพระพุทธศาสนาและนอกพระพุทธศาสนา แต่
กสิณที่เป็นหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาเป็นการปฏิบัติเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำให้พระสาวกได้นำมาใช้ปฏิบัติเพื่อทำฌานให้เกิดขึ้น
ความเป็นบุญเขตให้แก่ทายกทายิกา
เป็นหลัก
และเพื่อ
2. คำว่า กสิณ หมายถึง วัตถุที่ใช้สำหรับเพ่ง รวมถึงนิมิตที่เกิดขึ้นจากการเพ่งวัตถุนั้น
และฌานอันเป็นผลที่เกิดจากการเพ่งกสิณนั้น โดยกสิณแบ่งเป็น 10 ประเภท 3 หมวดใหญ่ๆ
3. ในการเจริญกสิณทั้ง 10 อย่าง สำหรับผู้ที่มีบารมีในอดีตเพียงเพ่งกสิณตามธรรมชาติ
ก็สามารถบรรลุฌานได้ แต่สำหรับผู้กำลังทำความเพียรปฏิบัติต้องทำองค์กสิณขึ้นมาก่อน แล้ว
จึงใช้องค์กสิณนั้นสำหรับเพ่ง จนกระทำจำองค์กสิณนั้นได้ติดตาติดใจ แล้วจึงประคองกสิณนั้น
ไว้ที่ศูนย์กลางกาย จนกระทั่งกสิณนั้นเปลี่ยนจากบริกรรมนิมิต เป็นอุคคหนิมิต และปฏิภาค
นิมิตตามลำดับ และในที่สุดใจก็หยุดนิ่ง ตกศูนย์เข้าถึงดวงธรรมภายในได้
4. เมื่อบำเพ็ญกสิณจนกระทั่งเกิดเป็นปฏิภาคนิมิต เมื่อต้องการให้สมาธิแก่กล้า ท่าน
แนะนำให้ขยายปฏิภาคนิมิตให้กว้างขวางออกไป และประคองรักษานิมิตนั้นไว้ด้วยสัปปายะ 7
อย่าง จนกระทั่งบรรลุปฐมฌาน และเมื่อได้บรรลุปฐมฌานแล้ว ก็ต้องสังเกตว่าเพราะเหตุปัจจัยใด
จึงทำให้ได้บรรลุปฐมฌาน เพื่อให้สมาธิที่ได้นั้นยังคงอยู่ไม่เสื่อมหายไป
5. กสิณมีคุณพิเศษคือทำให้ได้ฌานเร็วกว่ากัมมัฏฐานอื่น ๆ และกสิณแต่ละอย่างยังมี
อานิสงส์พิเศษที่แตกต่างกันไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้สามารถอธิบายถึงที่มาของกสิณในพระไตรปิฎกได้
2. เพื่อให้สามารถอธิบายความหมายของคำว่า กสิณ และประเภทของกสิณต่าง ๆ ได้
3. เพื่อให้รู้และสามารถบอกวิธีการในการเจริญกสิณภาวนาแต่ละอย่าง จนกระทั่งใจ
หยุดนิ่งเข้าถึงดวงธรรมภายในได้
4. เพื่อให้สามารถบอกวิธีการรักษานิมิตและสมาธิที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกสิณภาวนาได้
5.เพื่อให้สามารถบอกคุณสมบัติของกสิณและอานิสงส์ที่เกิดขึ้นจากการทำกสิณภาวนาได้
บ ท ที่ 1 ก สิ ณ 1 0
DOU 3