ข้อความต้นฉบับในหน้า
ยถารูเปหิ สุทธาทิธมฺเมหิ
ตตฺถ อุปปันนา มยุหมุ
สมนาคตา ตา เทวตา อิโต จุฑา
ตถารูปา สทฺธาภิธมฺมา สวิชฺชนฺติ ฯ
เทวดาและพรหมทั้งหลายเมื่อขณะยังเป็นมนุษย์อยู่นั้น ล้วนแต่เป็นผู้ที่บริบูรณ์ด้วย
สัปปุริสรัตนะ 7 อย่างและสัทธรรม 7 ประการ ที่มีสภาพดีงาม คือ ศรัทธา เป็นต้นอันใด ฉะนั้น
เมื่อจุติจากมนุษย์แล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในเทวภูมิ พรหมภูมิ ธรรมที่มีสภาพดีงาม คือ ศรัทธา เป็นต้น
เหล่านี้ มีอยู่แก่เราเช่นเดียวกัน
2.18 การเจริญเทวตานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่าเมื่อเจริญเทวตานุสติอย่างที่ได้อธิบายมานี้ทำให้ถึงเพียง
“อุปจารสมาธิ” แต่ในวิธีการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เมื่อปฏิบัติจริง ๆ แล้ว สามารถ
ไปถึงเลยกว่า “อุปจารสมาธิ” ได้ โดยปฏิบัติดังนี้
วิธีแรก เมื่อระลึกถึงกุศลกรรมของตน โดยเปรียบเทียบกับเทวดาพรหมทั้งหลายที่
บริบูรณ์ด้วยสัปปุริสรัตนะ 7 อย่าง และสัทธรรม 7 ประการ จนใจเริ่มสงบจากอกุศลกรรม
ทั้งหลาย ให้วางใจนิ่ง ๆ ที่ศูนย์กลางกายอย่างต่อเนื่อง จนนิวรณ์ทั้งหมดสงบระงับราบคาบ ใจก็
จะรวมตกศูนย์เข้าไปถึง “ดวงปฐมมรรค” ภายในได้
วิธีที่สอง ระลึกถึงบุคคลผู้มีคุณธรรมเหมือนเทวดาทั้งหลาย ที่บริบูรณ์ด้วยสัปปุริส
รัตนะ 7 อย่าง และสัทธรรม 7 ประการ อาทิ กษัตริย์ผู้ทรงธรรม (ได้ชื่อว่า สมมุติเทพ), บิดา
มารดาของตน (ได้ชื่อว่า ปุรพเทพ), พระอรหันต์ (ได้ชื่อว่า วิสุทธิเทพ) เป็นต้น โดยให้น้อม
ภาพของท่านเหล่านั้นมาเป็นนิมิตไว้ที่ศูนย์กลางกาย พร้อมกับนึกถึงคุณธรรมของท่าน
ทั้งหลายเป็นอารมณ์ พร้อมบริกรรมว่า “เทวตา เทวดา” หรือ “เทวดา เทวดา” จนปรากฏ
เห็นชัดเป็น “อุคคหนิมิต” และกลั่นตัวใสเป็น “ปฏิภาคนิมิต” ในที่สุดใจก็จะรวมตกศูนย์เข้าถึง
“ดวงปฐมมรรค”
2.19 อานิสงส์ของเทวตานุสติ
1. ทำให้เพิ่มพูนคุณธรรม 5 ประการ คือ
1.1 ศรัทธา มีความเชื่อในการกระทำความดี
58 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)