ข้อความต้นฉบับในหน้า
อีกนัยหนึ่ง ความไม่มีโรคแม้ทั้งปวง ย่อมมีความเจ็บไข้เป็นที่สุด ความเป็นหนุ่มสาว
ทั้งปวงมีความแก่เป็นที่สุด ความเป็นอยู่ทั้งปวงมีความตายเป็นที่สุด โลกสันนิวาสทั้งปวง
ถูกความเกิดติดตาม ถูกความแก่ชราไล่ตาม ถูกความเจ็บไข้ครอบงำ ถูกความตายทำลายล้าง
เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
“ภูเขาใหญ่ล้วนแล้วด้วยศิลา จดท้องฟ้ากลิ้งบดสัตว์มาโดยรอบทั้ง 4 ทิศ
แม้ฉันใด ชราและมัจจุก็ฉันนั้น ย่อมครอบงำสัตว์ทั้งหลาย คือ พวกกษัตริย์
พวกพราหมณ์ พวกแพศย์ พวกศูทร พวกจัณฑาล และคนเทมูลฝอย
ไม่เว้นใครๆ ไว้เลย ย่อมย่ำยีเสียสิ้น ณ ที่นั้น ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลช้าง
ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลรถ ไม่มียุทธภูมิสำหรับพลราบ และไม่อาจจะ
เอาชนะแม้ด้วยการรบด้วยมนต์ หรือด้วยทรัพย์”
วิบัติ คือ ความตาย เป็นที่สุดแห่งสมบัติคือชีวิต โดยนัยดังกล่าวมาแล้วนี้ นักปฏิบัติ
พึงเป็นผู้กำหนดความที่ชีวิตมีความตายที่สุดนั้น ระลึกถึงความตาย โดยอาการวิบัติแห่งสมบัติ
ดังที่กล่าวมาแล้วนี้
3.4.3 อุปสำหรณโต ระลึกโดยนำมาเปรียบเทียบ
อุปสำหรณโต คือ นึกโดยเปรียบเทียบตนกับคนอื่น ๆ ที่ได้ตายไปแล้ว ในข้อนี้ มีอธิบาย
ว่า นักปฏิบัติพึงระลึกถึงความตายโดยเปรียบเทียบด้วยอาการ 7 คือ
1. ยสมหตุตโต ระลึกโดยความมียศใหญ่
พึงระลึกอย่างนี้ว่า อันความตายนี้ได้ตกต้องผองท่านผู้มียศใหญ่ คือ ผู้มีบริวารมาก มี
ทรัพย์และพาหนะพร้อมพรั่ง แม้กระทั่งพระเจ้ามหาสมมต พระเจ้ามันธาตุ พระเจ้ามหาสุทัสสนะ
และพระเจ้าทัฬหเนมิ มาแล้วไม่อาจหลีกหนีไปได้ แล้วทำไมความตายจะไม่มาถึงตัวเราเล่า
ท่านผู้มียศใหญ่ทั้งหลาย แม้เป็นท้าวพญาผู้ประเสริฐเช่นพระเจ้ามหาสมมต ท่านยัง
ประสบอำนาจมฤตยู กล่าวอะไรในคนทั้งหลายเช่นเราเล่า
2. ปุญฺญมหตุตโต ระลึกโดยความมีบุญมาก
พึงระลึกอย่างนี้ว่า เศรษฐีเหล่านี้คือ โชติยะ ชฏิละ อุคคะ เมณฑกะ ปุณณกะ และคน
สังยุตตนิกาย สคาถวรรค, มก. เล่มที่ 24 ข้อ 415 หน้า 524
70 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)