กสิณ: หลักปฏิบัติในการเจริญสมาธิ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 14
หน้าที่ 14 / 156

สรุปเนื้อหา

บทที่ 1 ของหนังสือเน้นความสำคัญของกสิณในพระพุทธศาสนา เป็นวิธีปฏิบัติที่สามารถนำไปสู่การเข้าถึงฌานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนไว้ โดยระบุวิธีการเจริญกสิณที่ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างถูกต้องเพื่อประสบผลต่อการบรรลุธรรมและอานิสงส์ ความเข้าใจในกสิณช่วยให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางจิตใจและใช้อย่างมีประสิทธิภาพในการฝึกสมาธิ เนื้อหาอ้างอิงจากพระไตรปิฎก ซึ่งได้สอนวิธีการต่อการเจริญกสิณและการเป็นเนื้อนาบุญสำหรับผู้ทำบุญในการเข้าถึงจิตใจที่สงบ.

หัวข้อประเด็น

-ความเป็นมาของกสิณ
-การเจริญกสิณในพระพุทธศาสนา
-วิธีการปฏิบัติกสิณ
-ความสำคัญของฌาน
-ผลของการปฏิบัติกสิณต่อจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บทที่ 1 กสิณ 10 ในเรื่องของปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน ได้เคยกล่าวถึงอารมณ์ของกัมมัฏฐาน 7 หมวดไว้แล้ว ในวิชาสมาธิ 5 สำหรับในบทเรียนนี้ นักศึกษาจะได้ศึกษารายละเอียดและวิธีการปฏิบัติของ กัมมัฏฐานหมวดแรกที่ชื่อว่า กสิณ 1.1 ความเป็นมาของกสิณ กสิณถือเป็นหลักปฏิบัติดั้งเดิมที่พบในพระพุทธศาสนาเป็นวิธีการปฏิบัติเพื่อให้ได้ฌาน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนให้พระภิกษุได้ปฏิบัติเพื่อให้ภิกษุได้เป็นเนื้อนาบุญ คือ เป็น บุญเขตที่ทายกทายิกาได้ทำบุญแล้ว จะได้อานิสงส์มาก ดังที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุเจริญปฐวีกสิณแม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้ ภิกษุนี้เรา กล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของพระศาสดา ปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉัน บิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่าก็จะป่วยกล่าวไปไยถึงผู้กระทำให้มากซึ่งปฐวีกสิณนั้นเล่า แม้ชั่วกาลเพียงลัดนิ้วมือไซร้ภิกษุนี้เรากล่าวว่า อยู่ไม่เหินห่างจากฌาน ทำตามคำสอนของ พระศาสดาปฏิบัติตามโอวาท ไม่ฉันบิณฑบาตของชาวแว่นแคว้นเปล่า จะป่วยกล่าวไปไยถึง ผู้กระทำให้มาก ซึ่งปัญญาพละอันสหรคตด้วยอุเบกขาเล่า” ในพระไตรปิฎกยังได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการสอนสมาธิของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแก่ พุทธสาวกทั้งหลาย ด้วยการให้เจริญกสิณ โดยพระองค์ทรงแนะนำดังนี้ว่า “ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลาย ของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ 10 คือ 1. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้ * อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต, มก. เล่มที่ 33 ข้อ 224 หน้า 219 4 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More