ข้อความต้นฉบับในหน้า
(คือ วาสนา) เพราะเหตุนี้จึงทรงปรากฏพระนามว่า “พระอรหันต์”
นัยที่ 2 ทรงหักกำจักร “กำจักร” หมายถึงกิเลสทั้งปวง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง
หักกิเลสเหล่านั้นด้วยศาสตรา คือปัญญา เพราะเหตุนี้จึงทรงปรากฏพระนามว่า “พระอรหันต์”
อนึ่ง คำว่า “จักร” หมายถึง “สังสาร” มีคำอธิบายแตกต่างกันเป็น 2 นัย คือ
“สังสาร” ตามนัยที่ 1 อุปมาดัง “จักร” ซึ่งตามธรรมดามีองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง
คือ ดุม กำ และกง ตามนัยที่ 1 นี้ อวิชชาและภวตัณหาเปรียบได้กับ “ดุม” อภิสังขารเปรียบได้
กับ “กำ” ความแก่และความตายเปรียบได้กับ “กง” ดุม กำ และกง ประกอบกันขึ้นเป็นจักร
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ล้อ” ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของ “รถ” อันเปรียบได้กับ “ภพ 3”
รถนี้ย่อมแล่นไปเรื่อยๆ โดยหาต้นชนปลายไม่ได้ นี่คือ ความหมายของ “สังสาร” หรือ “จักร”
ตามนัยที่ 1
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เสด็จประทับยืนบนแผ่นดินด้วยพระบาท “ศีล” ของพระ
พุทธองค์นั้นเปรียบได้กับ “แผ่นดิน” ส่วน “ความเพียร” เปรียบได้กับ “พระบาท” ทรงเอา
พระหัตถ์ ซึ่งเปรียบได้กับ “ศรัทธา” จับขวานคือ “พระญาณ” ฟันกำของจักรให้ขาดสะบั้นลง
หมดสิ้น รถจึง “หยุด” นิ่งสนิท เป็นอันสิ้นภพสิ้นชาติ ชรา มรณะ นี่คือความหมายของ “ทรง
หักกำจักร” ตามนัยที่ 1
“สังสาร” ตามนัยที่ 2 อุปมาดัง “จักร” ที่ประกอบมาจาก “ปฏิจจสมุปบาท” คือมี
“อวิชชา” เปรียบได้กับ “ดุม” เพราะเป็นมูลเหตุ “ชราและมรณะ” เปรียบได้กับ “กง” เพราะ
เป็นที่สุด ส่วนธรรมอีก 10 ข้อที่เหลือในปฏิจจสมุปบาท เปรียบได้กับ “กำ” นี้คือ “สังสาร”
ตามนัยที่ 2
เพราะเหตุที่ทรงหักกำจักรสิ้นแล้วจึงทรงปรากฏพระนามว่า “พระอรหันต์”
นัยที่ 3 ทรงควรแก่ปัจจัย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบริสุทธิ์หมดจดด้วยประการ
ทั้งปวง จึงทรงเป็นทักขิไณยบุคคลอันเลิศยิ่ง ย่อมควรแก่ปัจจัยและการบูชาเป็นพิเศษ สำหรับ
พรหม เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เพราะเหตุนี้ จึงทรงปรากฏพระนามว่า “พระอรหันต์”
นัยที่ 4 ไม่ทรงทำชั่วในที่ลับ โดยเหตุที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงกำจัดกิเลส ตัณหา
และอวิชชาทั้งปวง ด้วยมรรคและญาณโดยสิ้นเชิงแล้ว การทำกรรมชั่วทั้งหลายแม้ในที่ลับ ย่อม
1 วาสนา คือ บุญ บารมี กุศลที่ทำให้ได้รับลาภยศ
34 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)