การเจริญสังฆานุสติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 60
หน้าที่ 60 / 156

สรุปเนื้อหา

เนื้อหามุ่งเน้นไปที่ความสำคัญของการมีศรัทธาในพระรัตนตรัย และการเจริญสังฆานุสติในการเข้าถึงพระธรรมกาย โดยใช้ตัวอย่างการเปรียบเทียบการผลิตบุญที่ไม่มีที่สิ้นสุดจากพระอริยสงฆ์ ร่วมทั้งการให้ความสำคัญแก่บิดามารดาในฐานะที่เป็นพระอรหันต์ในครอบครัว ความสำเร็จในการปฏิบัติธรรมที่เชื่อมโยงกับการตรึกตรองถึงพระสังฆคุณจะนำไปสู่การเข้าถึงจิตที่สงบและพระธรรมกายได้ ซึ่งเป็นหนทางในการพัฒนาจิตใจให้บริสุทธิ์และเข้าถึงความดีได้อย่างมหาศาล

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของศรัทธาในพระรัตนตรัย
-การเข้าถึงพระธรรมกายผ่านการเจริญสังฆานุสติ
-การเปรียบเทียบการผลิตบุญจากพระอริยสงฆ์และดวงอาทิตย์
-การให้ความสำคัญแก่บิดามารดาในฐานะผู้มีพระคุณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

นิสัยบารมียังอ่อนอยู่ไม่สามารถจะบรรลุธรรมในขณะนั้น ก็สามารถน้อมนำให้บังเกิดศรัทธา มั่นคงในพระรัตนตรัย เป็นการปิดอบายให้กับตนเองอย่างชาญฉลาดและมั่นคง 2.9.9 อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะ เป็นเนื้อนาบุญอันประเสริฐ เป็นบุญเขตที่สรรพสัตว์ทั้งหลายจะได้รับบุญ เมื่อหว่าน พืช คือศรัทธา ลงไปบนผืนนา คือพระสงฆ์นี้ แม้เพียงเล็กน้อย ก็จะได้รับผล คือ บุญอย่างมากมาย เนื่องจาก ท่านสามารถปราบกิเลสได้เด็ดขาดด้วยพระธรรมกายของท่าน ทำให้ทั้งกายและใจ ของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง และสามารถผลิตกระแสบุญได้อย่างมากกมายมหาศาล ไม่มีที่สิ้นสุด ดวงอาทิตย์สามารถผลิตแสงสว่างและความร้อนอย่างต่อเนื่องและมากมายมหาศาล ไม่มี ประมาณฉันใด พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมสามารถผลิตบุญและความดีทั้งหลายอย่างมากมาย มหาศาลและต่อเนื่องไม่มีประมาณยิ่งกว่าฉันนั้น ดวงอาทิตย์แม้จะให้ความร้อนและแสงสว่าง ได้มากมายมหาศาลก็เฉพาะในเวลากลางวัน แต่พระอริยเจ้าท่านให้บุญและความดีแก่ชาวโลก ได้ทั้งกลางวันกลางคืนไม่มีว่างเว้น สิ่งที่พึงระลึกอีกประการหนึ่ง คือ นอกจากพระอริยสงฆ์แล้ว บิดามารดา ก็จัดเป็น พระอรหันต์ของบุตรธิดา แม้ท่านจะไม่ได้หมดจดจากกิเลสเช่นเดียวกับพระอรหันต์ แต่ พระคุณของท่านที่มีต่อบุตรธิดา ทำให้ท่านสมควรเป็นผู้รับการบูชา การเลี้ยงดูจากบุตรธิดา จัดเป็นอาหุเนยยบุคคลของบุตรธิดาเช่นกัน 2.10 การเจริญสังฆานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคได้อธิบาย “สังฆานุสติ” ในทำนองคล้ายกับ “พุทธานุสติ” คือ เป็นเพียงการตรองหรือคิดพิจารณาพระสังฆคุณเท่านั้น จึงทำให้เข้าถึงแค่ “อุปจารสมาธิ” แต่ ถ้าหากอธิบายด้วยวิธีการปฏิบัติธรรมเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย อาจอธิบายได้ดังนี้ เมื่อเราตรองตรึกถึงพระสังฆคุณทุกประการดังที่ได้อธิบายมาข้างต้น ใจก็จะมีพระสงฆ์ เป็นอารมณ์ อย่างนี้แล้วจึงน้อมตรึกระลึกนึกถึงพระสงฆ์องค์ใดองค์หนึ่ง ที่ประพฤติดี ปฏิบัติชอบ มีพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ พระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโย เป็นต้น มาเป็น บริกรรมนิมิต พร้อมกับบริกรรมภาวนาด้วยคำใดคำหนึ่งที่น้อมถึงพระสังฆคุณ เช่น สังโฆ สุปฏิปันโน เป็นต้น จนนิมิตติดแน่นเป็น “อุคคหนิมิต” แล้วกลั่นตัวใสเป็น “ปฏิภาคนิมิต” จากนั้น ใจจึงจะตกศูนย์เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” ต่อไป 50 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More