ข้อความต้นฉบับในหน้า
วิธีการทำมณฑลกสิณที่อยู่กับที่
de de
วิธีการทำปฐวีกสิณที่อยู่กับที่ ให้นำเอาหลักหลายๆ อันมาตอกกับพื้นดี
ผ่นดินมีลักษณะ
คล้ายฝักบัว (คือตอกให้ข้างล่างสอบข้างบนผายโดยรอบสัณฐานดังฝักบัว) แล้วตรึงหลักเหล่านั้น
ให้ติดกันด้วยเถาวัลย์แต่งเป็นโครงขึ้น ถ้าดินสีอรุณไม่พอ ให้ใช้ดินสีอื่นรองข้างล่างแล้วใช้ดิน
สีอรุณทับข้างบน แล้วจึงแต่งกสิณให้มีสัณฐานกลมกว้างประมาณ 1 คืบ 4 นิ้ว แล้วทำให้เรียบ
เหมือนหน้ากลอง
2. วิธีนั่งเพ่งปฐวีกสิณ
ก่อนจะเจริญกัมมัฏฐานท่านกล่าวไว้ว่า ให้แสวงหาที่อยู่ที่เหมาะสมแก่การเจริญสมาธิ
เว้นจากที่ที่ไม่ควรเจริญกัมมัฏฐาน แล้วจึงตัดเครื่องกังวลเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น ตัดเล็บ ปลงผม
และหนวด ทำความสะอาดที่อยู่อาศัยให้เรียบร้อย และจัดข้าวของ เครื่องใช้สอยต่างๆ ให้เป็น
ระเบียบ ทานอาหารพอสบายท้อง ไปอาบน้ำ แล้วจึงหาที่สงบๆ แล้วจึงมานั่งในท่าขัดสมาธิ
บนตั่งอันตั้งไว้เรียบร้อยแล้วมีเท้าสูงประมาณคืบ 4 นิ้ว (ประมาณ 30 เซนติเมตร) ซึ่งจัดไว้
ตรงจุดที่มีระยะห่างจากวงกสิณ 2 ศอกคืบ (ประมาณ 1 เมตร 25 เซนติเมตร) เพราะเมื่อ
นั่งไกลกว่านั้น กสิณจะไม่ชัด ใกล้กว่านั้น กสิณโทษ จะปรากฏ มหาฎีกากล่าวไว้ว่า รอยอะไร
เล็ก ๆ น้อย ๆ ซึ่งนั่งห่างพอสมควรย่อมมองไม่เห็น แต่ถ้านั่งใกล้เพ่งดูเข้าจะเห็น เช่น รอยฝ่ามือ
ซึ่งอาจหลงตาในเวลาแต่งกสิณ
ในการนั่งที่กำหนดความสูงของตั้งไว้ก็เพราะว่าถ้าผู้ปฏิบัตินั่งสูงไปจะต้องโน้มคอลงดู
นานเข้าจะปวดคอ นั่งต่ำไปจะต้องคุกเข่าขึ้นดู นานเข้า เข่าจะปวด เมื่อจัดท่านั่งพร้อมแล้วทำจิต
ให้ระลึกถึงโทษของกามคุณว่ากามเป็นสิ่งที่มีคุณความดีน้อย มีทุกข์มาก ให้โทษต่าง ๆ เปรียบ
ดังงูมีพิษ เพราะเป็นของน่ากลัว จึงควรทำตนให้พ้นจากกามคุณอารมณ์ต่าง ๆ ตั้งจิตให้ยินดี
ในฌาน ระลึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ระลึกว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและ
พระอริยสาวกทั้งหลายก็ได้อาศัยการเพ่งกสิณปฏิบัติเพื่อพ้นจากทุกข์ แล้วจึงลืมตาดูดวงกสิณนั้น
โดยอาการพอดี ไม่ลืมตาดูมากเกินไป เพราะจะทำให้เมื่อยตา และดวงกสิณจะปรากฏชัดเกินไป
อุคคหนิมิตก็จะไม่เกิดขึ้น และไม่ลืมตาแคบเกินไป เพราะจะทำให้ดวงกสิณไม่ชัด และจิตก็จะ
หดหู่ไปเสียด้วย อีกทั้งนิมิตแท้ก็จะไม่เกิดเช่นเดียวกัน เพราะเหตุนั้น จึงต้องลืมตาให้พอดี โดย
1 กสิณโทษ คือ รอยอะไรต่าง ๆ เช่น รอยนิ้ว รอยฝ่ามือ
บ ท ที่ 1 ก ส ณ 1 0
DOU 11