ความสำคัญของอุปสมานุสติในพระธรรมกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 155
หน้าที่ 155 / 156

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวที่นำเสนอถึงการบรรยายเกี่ยวกับอุปสมานุสติที่ใช้ในการเข้าถึงพระธรรมกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการระลึกถึงความหมายที่ถูกต้องและการปฏิบัติเพื่อก้าวข้ามการเข้าถึงฌานสมาบัติ เช่น การยังคงใช้คำบริกรรมที่เกี่ยวข้องกับพระนิพพาน และการเข้าใจคุณธรรมที่ละเอียดลึกซึ้ง ซึ่งจะนำไปสู่การพ้นจากความทุกข์ได้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะในภาษาบาลีหรือภาษาไทย ตามที่ได้แปลไว้นั้นแต่การระลึกต้องเป็นไปอย่างถูกต้อง เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติจนถึงจุดหมายสูงสุดคือพระนิพพาน และความพ้นจากตัณหา อันเป็นเครื่องร้อยรัด.

หัวข้อประเด็น

-อุปสมานุสติ
-พระนิพพาน
-การเจริญภาวนา
-ความหมายของธรรม
-ฌานสมาบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แสดงไว้ในภาษาบาลีดังต่อไปนี้ ยาวตา ภิกฺขเว ธมฺมา สงฺขตา วา อสังขตา วา วิราโค เตสํ ธมฺมานํ อค คมกฺขายติ, ยทิทํ มทนิมฺมทโน, ปิปาสวินโย, อาลยสมัคฆาโต, วัฏฏปจฺเฉ โท, ตณฺหกขโย, วิราโค, นิโรโธ, นิพพาน ฯ “ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่ถูกปรุงแต่งและไม่ถูก ปรุงแต่งด้วยปัจจัยมีอยู่ ในบรรดาสังขตะ อสังขตะทั้ง 2 อย่างนี้ ธรรมใด เป็นสภาพที่ย่ำยีความมัวเมาต่างๆ บรรเทาเสียซึ่งความกระหายใน กามคุณอารมณ์ ถอนเสียซึ่งความอาลัยในกามคุณอารมณ์ ตัดเสียซึ่ง การเวียนไปในวัฏฏะทั้ง 3 เป็นที่สิ้นสุดแห่งตัณหา ปราศจากราคะ เป็น ที่ดับแห่งตัณหา และพ้นจากตัณหาอันเป็นเครื่องร้อยรัด คือ พระนิพพาน นี้แหละ ตถาคตจึงกล่าวว่าเป็นธรรมอันประเสริฐยอดยิ่งอยู่ดังนี้” ระลึกอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ในการระลึกนั้น ผู้ปฏิบัติจะใช้ภาษาบาลีระลึกก็ได้ หรือ ภาษาไทยตามที่ได้แปลไว้นั้นก็ได้ ระลึกในคุณทั้ง 8 หรือ 29 ประการ มี มทนิมุมทโน เป็นต้น ดังนี้ก็ได้ ความสำคัญยิ่งอยู่ที่ผู้ระลึกจะต้องรู้อย่างถูกต้องถึงความหมายของคุณนั้น ๆ ไปด้วย 5.12 การเจริญอุปสมานุสติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ในคัมภีร์วิสุทธิมรรคกล่าวไว้ว่าเมื่อเจริญอุปสมานุสติอย่างที่ได้อธิบายมานี้ทำให้ถึงเพียง “อุปจารสมาธิ” ไม่สามารถส่งผลให้ได้ถึงฌานสมาบัติได้ เพราะว่าในบรรดากัมมัฏฐานทั้งหลาย กัมมัฏฐานทั้ง 4 คือ มรณานุสติ อุปสมานุสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญาและจตุธาตุววัตถาน เป็น อารมณ์ที่มีสภาพละเอียดสุขุมลุ่มลึกยิ่งและยังมีความกว้างขวางลึกซึ้งอย่างไม่มีประมาณ ผู้บำเพ็ญกัมมัฏฐานที่ยึดเอาอารมณ์เหล่านี้ จำเป็นต้องระลึกไปในพระคุณอันกว้าง ขวางลึกซึ้งนั้น ตามกำลังสติปัญญาของตนโดยไม่มีประมาณ ดังนั้นองค์ฌานทั้ง 5 มีวิตกเป็นต้น ไม่สามารถที่จะตั้งอยู่ในอารมณ์เหล่านี้แล้วทำให้สมาธิมีกำลังกล้าจนกระทั่งฌานเกิดขึ้นมา ได้(วิมุตติ 1/115,82) แต่ในวิธีการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เมื่อปฏิบัติจริง ๆ แล้ว สามารถเลยไปกว่า “อุปจารสมาธิ” ได้ โดยปฏิบัติดังนี้ เมื่อระลึกถึงคุณของพระนิพพานเป็นอารมณ์ บริกรรมด้วยคำที่เป็นคุณของพระนิพพาน บทที่ 5 อานาปานสติ และอุปสมานุสติ DOU 145
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More