การปฏิบัติกสิณและการเข้าถึงดวงปฐมมรรค MD 306 สมาธิ 6  หน้า 23
หน้าที่ 23 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติกสิณในประเภทต่างๆ เช่น เตโชกสิณ วาโยกสิณ และ นีลกสิณ โดยการเพ่งพินิจในเปลวไฟ ลม และสีเขียว ตามลำดับ ซึ่งจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถเข้าถึงดวงปฐมมรรคได้ในที่สุด ผ่านการสร้างนิมิตและปฏิภาคนิมิตที่แน่นิ่งและสว่าง ใครสนใจในวิธีการปฏิบัติสามารถศึกษาจากเนื้อหาในเล่มนี้และเข้าถึงการปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติเตโชกสิณ
-การปฏิบัติด้วยวาโยกสิณ
-การดำเนินการกับนีลกสิณ
-การเข้าถึงดวงปฐมมรรค
-การสร้างนิมิตและปฏิภาคนิมิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ส่วนปฏิภาคนิมิตจะปรากฏเป็นสภาพที่นิ่ง เหมือนพัดแก้วมณีที่วางไว้กลางแจ้ง หรือเหมือน กระจกเงาที่ทำด้วยแก้วมณี ฉะนั้น ให้เพ่งนิมิตนี้ที่ศูนย์กลางกายตามลำดับ จนจิตรวมตกศูนย์ เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” เช่นเดียวกับปฐวีกสิณ 1.4.3 เตโชกสิณ (กสิณไฟ) กสิณไฟ คือ การเพ่งเปลวเพลิง ผู้ที่เคยปฏิบัติมาในชาติก่อนๆ อาจเพ่งเปลวไฟในเตา หรือกองไฟหรือที่ใด ๆ จนได้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตตามลำดับ สำหรับผู้ที่จะทำกสิณไฟ วิธีการทำดังนี้ คือ ต้องเตรียมการโดยก่อกองไฟ เอาไม้แห้งมาตัดเป็นท่อน ๆ แล้วจุดไฟให้ลุกโพลง นำเสื่อลำแพนหรือแผ่นหนังมากั้นไว้หน้ากองไฟ เจาะช่องกลมโต ประมาณ 1 คืบ 4 นิ้ว แล้ว นั่งเพ่งดูเปลวไฟ อย่าพิจารณาสีของเปลวไฟหรือเถ้าถ่านหรือควันไฟ แต่ให้กำหนดถึงความ เป็นธาตุไฟ ขณะเพ่งเปลวไฟให้บริกรรมภาวนาว่า เตโชๆ ๆ หรือ ไฟ ๆ ๆ จนอุคคหนิมิต ปรากฏขึ้นและได้ปฏิภาคนิมิต ตามลำดับ อุคคหนิมิตของเตโชกสิณจะปรากฏภาพเปลวไฟที่คุ แต่อาจมีการพัดไหว ส่วนปฏิภาคนิมิตเปลวไฟจะนิ่ง มีสีใสสว่างหรือเป็นดวงนิ่งที่สว่างใส จน ในที่สุดใจก็จะรวมตกศูนย์เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” 1.4.4 วาโยกสิณ ( กสิณลม ) ผู้เจริญภาวนาด้วยกสิณลม จึงจับเอานิมิตด้วยการที่ได้เห็นหรือได้ถูกต้องลม โดยการ เจริญกสิณลมได้ต้องอาศัยการมองดูยอดไม้ ใบไม้ที่ลมพัดเอนไป หรือกำหนดปลายผมที่ลม พัดให้ล้มลงหรือจะกำหนดตรงที่ลมพัดมาถูกต้องกายเรา เมื่อเห็นลมพัดใบไม้ ยอดไม้ หรือ เห็นผมที่ถูกลมพัดอยู่ ก็ตั้งสติไว้ว่า ลมนี้ย่อมพัดถูก ณ ที่ตรงนั้น หรือตั้งสติไว้ตรงที่ที่ลมพัดเข้า ทางช่องหน้าต่าง หรือทางช่องฝาแล้วมากระทบกาย พร้อมกับบริกรรมภาวนาว่า วาโย ๆ ๆ หรือ ลมๆ ๆ จนเกิดอุคคหนิมิต เป็นลักษณะไอน้ำ น้ำตก หรือควันที่ไหวหวั่น แต่เมื่อได้ปฏิภาค นิมิตจะไม่หวั่นไหว จะมีสภาพเป็นกลุ่มกอง เป็นเกลียวที่แน่นิ่งใสสว่างหรือเป็นดวงนิ่งที่สว่างใส จนในที่สุดใจก็จะรวมตกศูนย์เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” 1.4.5 นีลกสิณ (กสิณสีเขียว) คือ กสิณสีเขียว ผู้ที่มีวาสนาบารมีเคยเจริญกสิณนี้มาก่อน เมื่อเห็นสีเขียวของดอกไม้ ผ้าหรือวัตถุอื่น ๆ ก็สามารถพินิจดูแล้วบริกรรมได้ทันที แต่ถ้าจะต้องทำองค์นีลกสิณ ต้องใช้ดอกไม้ ใบไม้ วัตถุใด ๆ ก็ตามที่มีสีเขียว เช่น ดอกบัวเขียว แล้วนำมาใส่พานหรือขันให้เต็มภาชนะ บ ท ที่ 1 ก ส ณ 1 0 DOU 13
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More