อานิสงส์ของอุปสมานุสติและการเข้าถึงพระธรรมกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 156
หน้าที่ 156 / 156

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เน้นถึงการภาวนาและการเข้าถึงพระนิพพาน ซึ่งอาจจะไม่ผ่านคำบริกรรมใด ๆ เมื่อใจสงบที่ศูนย์กลางกาย นอกจากนี้ยังอธิบายอานิสงส์จากการอุปสมานุสติ เช่น ความสุขขณะหลับและตื่น, ความสงบ, ความเลื่อมใส เป็นต้น โดยมีการแนะนำให้นักศึกษาใช้แนวทางในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายในชีวิตประจำวัน.

หัวข้อประเด็น

- อุปสมานุสติ
- พระนิพพาน
- การปฏิบัติธรรม
- สมาธิ
- การภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คำใดคำหนึ่ง เช่น นิพฺพานํวร์ เป็นต้น ให้เหมือนคำภาวนาดังก้องอยู่ที่ศูนย์กลางกายจนใจสงบ คำภาวนาหายไป (เนื่องจากนิพพานเป็นสภาวะที่ลึกซึ้ง ยากที่จะกำหนดนิมิตใดเป็นตัวแทน ของพระนิพพาน ดังนั้นจึงไม่ต้องกำหนดบริกรรมนิมิตใด ๆ ทั้งสิ้น) เมื่อคำบริกรรมหายไป ใจสงบนิ่งตั้งมั่นอยู่ที่ศูนย์กลางกาย นิวรณ์ทั้งหลายไม่เกิดขึ้น ใจก็จะรวมตกศูนย์เข้าถึง “ดวงปฐมมรรค” ได้เหมือนกัน ต่อจากนั้นก็เข้ากลางของกลางตามลำดับ เข้าถึงกายภายในและเข้าถึงพระธรรมกายในที่สุด 5.13 อานิสงส์ของอุปสมานุสติ 1. หลับเป็นสุข 2. ตื่นเป็นสุข 3. มีความสงบ 4. มีหิริโอตัปปะ 5. มีความเลื่อมใส 6. เป็นที่นับถือของคนทั่วไป 7. อยู่เป็นสุข 8. มีกิริยาอ่อนน้อม 9. จิตหยั่งในพระนิพพานคุณ สามารถทำความปรารถนาให้สำเร็จ หากไม่ได้บรรลุ มรรคผลในชาตินี้ก็จะไปสู่สุคติ ขอให้นักศึกษาได้นำอนุสติทั้ง 2 ประการนี้ นำไปใช้ในการปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพื่อ ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายต่อไป กิจกรรม หลังจากนักศึกษาได้ศึกษา บทที่ 5 กายคตาสติ จบโดยสมบูรณ์แล้ว โปรดทำแบบประเมินตนเองหลังเรียนบทที่ 5 และกิจกรรม ในแบบฝึกปฏิบัติบทที่ 5 146 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More