ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระองค์ได้บำเพ็ญทานบารมีบริจาคของนอกกาย ทานอุปบารมีสละเนื้อเลือดเมื่อทำความเพียร
ทานปรมัตถบารมีสละได้ถึงชีวิตมาแล้วอย่างสมบูรณ์
6. หิริ ได้แก่ความละอายต่อความชั่ว
7. โอตตัปปะ ได้แก่ความสะดุ้งกลัวบาป
ทั้งหิริและโอตตัปปะ 2 ประการนี้เป็นจรณะที่ติดประจำพระองค์อยู่อย่างสมบูรณ์
8. พาหุสัจจะ ได้แก่ความเป็นผู้ฟังมาก เรียนรู้มาก
จรณะข้อนี้ มีประจำพระองค์มาแต่ครั้งยังสร้างบารมี ทรงเอาพระทัยใส่ฟังธรรมใน
สำนักต่าง ๆ เป็นลำดับมา กระทั่งอาฬารดาบสและอุทกดาบส ซึ่งได้เรียนรู้รูปฌาน อรูปฌาน
มาจากสำนักนี้
9. วิริยารัมภะ ได้แก่การทำความเพียรอย่างไม่ละลด
พระองค์ทรงมีความเพียรไม่ละลด ดั่งเช่นทรงบำเพ็ญพุทธกิจ 5 เป็นประจำคือ เวลา
เช้าบิณฑบาต เวลาเย็นทรงแสดงธรรม เวลาค่ำทรงประทานโอวาทแก่พระภิกษุ เวลาเที่ยงคืน
ทรงเฉลยปัญหาแก่เหล่าเทวดา เวลาใกล้รุ่งทรงพิจารณาเวไนยสัตว์ที่จะพึงโปรด
10. สติ คือความระลึกได้ โดยไม่เผลอหรือหลงลืม
พระองค์ทรงมีสติอยู่เสมอ ไม่เผลอในกาลทุกเมื่อเราผู้ปฏิบัติควรเจริญรอยตามดังแนว
ที่ทรงสอนไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร ไม่ว่าจะเดิน ยืน นั่ง นอน ท่านหมายเอาสติที่ตรึกถึงกาย
เวทนา จิต ธรรม
11. ปัญญา คือความรอบรู้ในกองสังขาร
พระองค์ทรงมีความรู้ความเห็นกว้างขวางหยั่งรู้เหตุผลถูกต้องไม่มีผิดพลาด
12. รูปปฐมฌาน ได้แก่ รูปฌาน 1
13. รูปทุติยฌาน ได้แก่ รูปฌาน 2
14. รูปตติยฌาน ได้แก่ รูปฌาน 3
15. รูปจตุตถฌาน ได้แก่ รูปฌาน 4
พระองค์ทรงได้อาศัยรูปฌาน มาเป็นประโยชน์ที่จะขยับขยายโลกียปัญญาให้เป็น
โลกุตตรปัญญา ทรงเรียนฌานจากดาบส ต่อจากนั้นทรงแสวงหาต่อไปด้วยพระองค์เอง กระทั่ง
38 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)