ข้อความต้นฉบับในหน้า
พระองค์แล้ว เรายังพบอีกว่า การฝึกสมาธิด้วยการใช้กสิณยังเป็นวิธีการปฏิบัติสมาธิที่มี
ปรากฏนอกพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะที่ใช้ในหมู่ฤาษีชีไพร ตลอดจนนักบวชกลุ่มต่าง ๆ มี
หลักฐานในพระไตรปิฎกที่อ้างอิงถึงในอังคุตตรนิกายว่า มีอุบาสิกาชื่อกาลี ได้ถามพระกัจจานะ
เถระว่า เพราะเหตุใดพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า พระองค์เป็นผู้เดียวเท่านั้นจึงถือว่าเป็นผู้บำเพ็ญ
ฌานอันหาผู้อื่นเปรียบมิได้ ดังที่พระองค์ตรัสไว้ในคัมภีร์กุมารปัญหา ดังต่อไปนี้
“การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย เราชนะเสนา คือ กิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก
เป็นที่ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่งความสุข เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำความ
เป็นเพื่อน กับด้วยชน ความเป็นเพื่อนกับด้วยใคร ๆ ย่อมไม่ถึงพร้อมแก่เรา”
พระกัจจานะเถระตอบนางกาสีว่า “ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยัง
ประโยชน์ทั้งหลาย อันมีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว ความที่ประโยชน์มี
ปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง มีประมาณเท่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้วซึ่งความที่
ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น ครั้นทรงรู้แล้ว ได้ทรงเห็นเบื้องต้น 1 ได้ทรงเห็น
โทษ 2 ได้ทรงเห็นธรรมเครื่องสลัดออก 3 ได้ทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง 4
การบรรลุประโยชน์ เพราะเหตุทรงเห็นเบื้องต้น เพราะเหตุทรงเห็นโทษ เพราะเหตุทรงเห็น
ธรรมเครื่องสลัดออก เพราะเหตุทรงเห็นญาณทัสสนะว่าเป็นทางและมิใช่ทาง แห่งความที่
ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบแล้วว่า
เป็นความสงบแห่งหทัย
ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลายอันมีอาโปกสิณสมาบัติ
เป็นอย่างยิ่งให้เกิดเฉพาะแล้ว...”
คำตอบของพระกัจจานะเถระชี้ให้เห็นว่า แม้ว่าสมณพราหมณ์บางคนบรรลุความสุข
จนถึงขั้นฌานจากการเพ่งกสิณทั้ง 10 และคิดว่าความสุขนั้นเป็นขั้นสุดยอด แต่พระสัมมา
สัมพุทธเจ้าทรงทราบ ว่าเป็นความสุขที่ไม่สมบูรณ์ จะต้องปลดเปลื้องความสุขระดับนี้ และทรง
รู้แจ้งแทงตลอดทางที่ถูกและทางที่ผิด
ในปัญจัตตยสูตร ซึ่งอธิบายถึงความเห็นผิดแบบต่าง ๆ ของสมณพราหมณ์บางพวก
ท่านได้กล่าวถึงวิญญาณกสิณไว้ว่า
2
* อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก. เล่มที่ 38 ข้อ 26 หน้า 87
อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก. เล่มที่ 38 ข้อ 26 หน้า 87
6 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)