ความเป็นมาของอุปสมานุสติ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 151
หน้าที่ 151 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความเป็นมาของอุปสมานุสติในพระไตรปิฎก โดยมีการอธิบายว่าอุปสมานุสติไม่ได้เป็นเอกเทศ แต่มีความเชื่อมโยงกับฌานวรรคและอานาปานสติ อุปสมานุสติเป็นกรรมฐานสำหรับพระสาวกที่มีสติปัญญา และทำให้เข้าถึงความสุขในพระนิพพาน อุปสมานุสติถูกจำกัดความว่าหมายถึงความสงบที่แท้จริงจากทุกข์ และโดยการระลึกถึงคุณพระนิพพาน ช่วยให้จิตสงบและมีสันติสุขอย่างต่อเนื่อง โดยการเจริญสมาธิจิตจะค่อยๆ น้อมไปสู่อุปสมานุสติ

หัวข้อประเด็น

-อุปสมานุสติ
-พระนิพพาน
-การปฏิบัติสมาธิ
-ความสงบในจิต
-ความสำคัญในพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

5.8 ความเป็นมาของอุปสมานุสติ อุปสมานุสติไม่ปรากฏเป็นเอกเทศในพระไตรปิฎกนอกจากจะปรากฏอยู่ในรายชื่อ ที่ท่านให้ไว้ในฌานวรรค ในอังคุตตรนิกาย แต่ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านกล่าวว่าเป็นอารมณ์ ของสมาธิ และวางอุปสมานุสติไว้หลังอานาปานสติ ท่านแนะไว้ว่าอุปสมานุสติเป็นกัมมัฏฐานสำหรับพระสาวกผู้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เช่นเดียวกับอนุสติ 6 อย่าง อุปสมานุสตินี้จะทำให้สมบูรณ์บริบูรณ์ได้โดยพระสาวกผู้ได้บรรลุ พระอริยมรรค เพราะพระสาวกเหล่านั้นได้รู้แจ้งอย่างแท้จริง ซึ่งความสุขในพระนิพพาน ตามสัดส่วนของคุณธรรมที่ท่านได้บรรลุ อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ประสงค์จะมีความสงบและความ เยือกเย็นในจิต ก็สามารถปฏิบัติอุปสมานุสติกัมมัฏฐานได้ เพราะว่าด้วยการเจริญสมาธิโดย พิจารณาความสงบนั้น จิตย่อมน้อมไปสู่การบรรลุความสงบและความเยือกเย็นได้ 5.9 ความหมายของอุปสมานุสติ คำว่า อุปสม ท่านให้คำจำกัดความว่า สพฺพทุกขอุปสม ซึ่งหมายถึงความสงบแห่ง ทุกข์ทั้งปวง คำนี้หมายถึงพระนิพพาน ในความหมายที่ว่า เป็นความสงบที่แท้จริง และคำว่า อุปสมานุสติ หมายถึง การระลึกลักษณะทุกอย่างของพระนิพพาน คำว่า อุปสม เมื่อหมายถึง การระลึกถึงความสงบย่อมประกอบด้วยสติที่เกิดขึ้นอย่างไม่ขาดตอน โดยเป็นอารมณ์ของ พระนิพพาน ความเป็นสมาธิของจิต และสิ่งที่เกิดขึ้นพร้อมกับจิตที่คิดอารมณ์นั้น การปฏิบัติ ย่อมทำให้จิตสงบ และมีสันติตั้งแต่เริ่มต้น ด้วยเหตุนี้ท่านจึงเรียกว่า อุปสมานุสติ หรือสมาธิ อันเกิดจากการระลึกความสงบ อุปมานุสติเป็นอนุสติที่มีนิพพานเป็นอารมณ์ คือ การระลึกถึงคุณพระนิพพานซึ่งเป็น ธรรมอันประเสริฐสูงสุดในพระพุทธศาสนา โดยระลึกถึงคุณต่าง ๆ ของพระนิพพาน เช่น นิพพานเป็นที่สิ้นไปแห่งกิเลสตัณหาทั้งปวง ดับกิเลส ดับราคะ โทสะ โมหะ ดับกองทุกข์ คือ ความเกิด แก่ เจ็บ ตาย ความโศกเศร้าต่าง ๆ นิพพานทำลายวัฏสงสารถอนความอาลัยรักใคร่ พอใจในเบญจกามคุณ เป็นต้น * อังคุตตรนิกาย นวกนิบาต, มก. เล่มที่ 37 ข้อ 205 หน้า 669 บทที่ 5 อ าน า ป า น ส ติ และ อุปสมานุสติ DOU 141
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More