ข้อความต้นฉบับในหน้า
เช่นเดียวกัน แม้ที่ดึงรัดเท้าขวา ทางข้างหน้าเท้าก็ 5 เส้น ทางข้างหลังก็ 5 เส้น ที่ดึงรัดเท้าซ้าย
ก็เช่นเดียวกัน เอ็นใหญ่ 60 เส้น อันได้ชื่อว่า สรีรธารกา เอ็นตึงรัดร่างกาย เอ็นที่หยั่งลงไป
เรียกว่า กัณฑรา (เอ็นรากเง่า) เอ็นใหญ่เหล่านี้มีสัณฐานดังต้นกล้าอ่อน ส่วนเอ็นอื่น ๆ แผ่คลุม
ตำแหน่งต่าง ๆ ในร่างกาย นั้น ๆ ที่เล็กกว่าเอ็นสรีรธารกานั้น มีสัณฐานดังเชือกดักหมู
ที่เล็กกว่านั้นมีสัณฐานดังเชือกเส้นเล็ก เส้นเอ็นอื่นที่เล็กกว่านั้นมีสัณฐานดังสายพิณใหญ่
เอ็นอื่นมีสัณฐานดังเส้นด้ายอ้วน ๆ เอ็นที่หลังมือและเท้ามีสัณฐานดังเท้านก เอ็นที่ศีรษะมี
สัณฐานดังข่ายคลุมศีรษะทารก เอ็นที่หลังมีสัณฐานดังอวนเปียกที่เขาพึ่งแดดไว้ เอ็นที่รัดรึง
อวัยวะต่าง ๆ ที่เหลือมีสัณฐานดังเสื้อร่างแหที่สวมร่างกายไว้
โดยทิศ : เอ็นเกิดในทิศเบื้องบนและเบื้องล่างของร่างกาย
โดยโอกาส : ยึดกระดูกในร่างกายทั้งสิ้นอยู่
โดยปริจเฉท : เบื้องล่างกำหนดด้วยพื้นที่มันตั้งอยู่บนกระดูก 300 ท่อน เบื้องบน
กำหนดด้วยตำแหน่งที่มันตั้งจุดเนื้อและหนังอยู่ เบื้องขวางกำหนดด้วยเอ็นด้วยกัน มีอยู่
โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ในโกฏฐาสะอื่น ๆ
8. กระดูก (อฏฺฐิ)
กระดูกทั้งหลาย คือ ยกเว้นกระดูกฟัน 32 ซี่เสีย ที่เหลือเป็นกระดูกประมาณ 300 ท่อน
ดังนี้ คือ กระดูกมือ 64 ท่อน กระดูกเท้า 64 ท่อน กระดูกอ่อนที่ติดเนื้ออยู่ 64 ท่อน กระดูกเท้า
2 ท่อน กระดูกข้อเท้าข้างละ 2 ท่อน กระดูกแข้งข้างละ 2 ท่อน กระดูกเข่า ข้างละ 1 ท่อน
กระดูกขา ข้างละ 1 ท่อน กระดูกสะเอว 2 ท่อน กระดูกสันหลัง 18 ท่อน กระดูกซี่โครง 24 ท่อน
กระดูกหน้าอก 14 ท่อน กระดูกหัวใจ 1 ท่อน กระดูกรากขวัญ 2 ท่อน กระดูกสะบัก 2 ท่อน
กระดูกต้นแขน 2 ท่อน กระดูกปลายแขนข้างละ 2 ท่อน กระดูกก้านคอ 7 ท่อน กระดูกคาง
2 ท่อน กระดูกจมูก 1 ท่อน กระดูกเบ้าตา 2 ท่อน กระดูกหู 2 ท่อน กระดูกหน้าผาก 1 ท่อน
กระดูกกระหม่อม 1 ท่อน กระดูกกะโหลกศีรษะ 9 ท่อน
โดยสี : เป็นสีขาว
โดยสัณฐาน : มีสัณฐานต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ
กระดูกนิ้วเท้าข้อปลายมีสัณฐานดังเมล็ดบัว กระดูกข้อกลางถัดข้อปลายนั้นเข้ามา
สัณฐานดังเม็ดขนุน กระดูกข้อโคน (ถัดข้อกลางเข้ามา) มีสัณฐานดังบัณเฑาะว์ กระดูกหลังเท้า
มีสัณฐานดังกองหัวคล้าที่ถูกบุบ กระดูกส้นเท้ามีสัณฐานดังจาวตาลในลอนเดียว กระดูกข้อเท้า
บ า ที่ 4 ก า ย ค ต า ส ติ
DOU 99