ข้อความต้นฉบับในหน้า
บทที่ 5
อานาปานสติ และ อุปสมานุสติ
นักศึกษาได้ศึกษาถึงอนุสติ 8 ประการในบทเรียนก่อนมาแล้ว ในบทเรียนนี้จะได้ศึกษา
ถึงอนุสติอีก 2 ประการที่เหลือที่มีความสำคัญเช่นเดียวกับอนุสติที่ผ่านมา คือ อานาปานสติ และ
อุปสมานุสติ
5.1 ความเป็นมาของอานาปานสติ
อานาปานสติ เป็นกัมมัฏฐานหนึ่งในอนุสติ 10 และปรากฏอยู่ในสติปัฏฐานด้วย ดังที่
พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “ถ้าบุคคลปฏิบัติอานาปานสติ เธอชื่อว่าทำสติปัฏฐาน 4 ให้บริบูรณ์
ถ้าบุคคลปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 เธอชื่อว่าทำโพชฌงค์ 7 ให้บริบูรณ์ ถ้าบุคคลปฏิบัติโพชฌงค์ 7
เธอชื่อว่าทำวิมุตติและวิชชาให้บริบูรณ์”
และปรากฏอยู่ในสัญญา 10 ประการ ที่พระพุทธองค์ทรงประทานแก่พระอานนท์เพื่อ
ให้พระอานนท์ไปสวดให้พระคิริมานนท์ฟังเพื่อให้อาพาธที่เป็นอยู่หายได้ ดังที่ตรัสไว้ว่า
“ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอจึงเข้าไปหาแล้วกล่าวสัญญา 10 ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุไซร้
ข้อที่อาพาธของคิริมานนท์ภิกษุจะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา 10 ประการนั้น
เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา 10 ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา 1 อนัตตสัญญา 1 อสุภสัญญา
1 อาทีนวสัญญา 1 ปหานสัญญา 1 วิราคสัญญา 1 นิโรธสัญญา 1 สัพพโลเกอนภิรตสัญญา 1
สัพพสังขาเรสุอนิจจสัญญา 1 อานาปานัสสติ 12
พระพุทธองค์ยังทรงสรรเสริญอานาปานสติว่า เป็นอริยวิหาร (ธรรมเครื่องอยู่ของพระ
อริยะ) พรหมวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่ของพระพรหม) และตถาคตวิหาร (ธรรมเป็นเครื่องอยู่
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า) นับว่าอานาปานสติเป็นกัมมัฏฐานที่สำคัญยิ่ง พระพุทธองค์ทรง
สนับสนุนให้ภิกษุทั้งหลายปฏิบัติ ดังที่พระองค์ตรัสว่า
* มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์, มก. เล่มที่ 22 ข้อ 287 หน้า 367.
* อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต, มก, เล่มที่ 38 ข้อ 60 หน้า 190.
126 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)