การวิเคราะห์องค์ประกอบของน้ำเหลวและน้ำลาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 122
หน้าที่ 122 / 156

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการวิเคราะห์น้ำเหลวซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำมันมะพร้าวและน้ำลายซึ่งผสมฟองในปาก การเกิดน้ำเหลวขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและสภาพแวดล้อม ขณะที่น้ำลายเกิดจากการเห็นหรือคิดถึงอาหาร มีลักษณะและการขังอยู่ในปาก รวมถึงการไหลออกมาขณะที่มีการรับประทานอาหาร

หัวข้อประเด็น

-การวิเคราะห์น้ำเหลว
-ลักษณะของน้ำลาย
-การเกิดน้ำลายในร่างกาย
-บทบาทของอาโปธาตุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

28. มันเหลว (วสา) โดยสี : มีสีดังน้ำมันมะพร้าว หรือมีสีดังน้ำมันที่ราดลงไปในน้ำข้าว โดยสัณฐาน : มีสัณฐานดังหยาดน้ำมันที่ลอยคว้างอยู่เหนือน้ำอันใส่ในเวลาอาบ โดยทิศ : เกิดในทิศเบื้องบนและเบื้องล่างของร่างกาย โดยโอกาส : โดยมากตั้งอยู่ในฝ่ามือ หลังมือ ฝ่าเท้า หลังเท้า ปลายจมูก หน้าผาก และจะงอยบ่า แต่ว่าไม่ได้ละลายอยู่ในที่เหล่านี้ทุกเมื่อ เมื่อใดตำแหน่งเหล่านั้นเกิดอบอ้าวขึ้น เพราะร้อนไฟ ร้อนแดด ผิดอากาศ และธาตุพิการ เมื่อนั้นมันเหลวจะไหลออกไปในที่เหล่านั้น ดังหยาดน้ำมันที่ซ่านไปบนน้ำใส่ในเวลาอาบ โดยปริจเฉท : กำหนดด้วยส่วนของมันเหลวเอง มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ใน โกฏฐาสะอื่นๆ 29. น้ำลาย (เขโฬ) น้ำลาย ได้แก่ อาโปธาตุที่ผสมกันเป็นฟองขึ้นภายในปาก โดยสี : มีสีขาวดังฟองน้ำ โดยสัณฐาน : มีสัณฐานตามโอกาส หรือมีสัณฐานดังฟองน้ำ โดยทิศ : เกิดในทิศเบื้องบน โดยโอกาส : ไหลออกมาจากกระพุ้งแก้มทั้ง 2 แล้วขังอยู่ที่ลิ้น น้ำลายจะขังอยู่ที่ กระพุ้งแก้มทั้ง 2 ต่อเมื่อสัตว์ทั้งหลายเห็นหรือนึกถึงอาหาร หรือเอาอาหารที่มีรสร้อน เผ็ด เค็ม เปรี้ยวใส่เข้าไปในปาก หรือว่าเมื่อใดหัวใจของสัตว์เหล่านั้นละเนี่ยอยู่หรือเกิดความสะอิด สะเอียนในทุกอย่าง เมื่อนั้นน้ำลายย่อมเกิดขึ้น แล้วไหลลงออกจากกระพุ้งแก้มทั้ง 2 ขังอยู่ที่ลิ้น น้ำลายที่อยู่ตรงโคนลิ้นเป็นน้ำลายข้น ส่วนที่อยู่ปลายลิ้นเป็นน้ำลายเหลว เมื่อใดเอาของกิน ใส่เข้าไว้ในปาก น้ำลายก็จะไหลเอิบอาบเข้าไปจนทั่วของ ๆ นั้นไม่รู้จักหมด เหมือนบ่อทรายที่มี น้ำไหลซึมออกมาตลอดเวลา โดยปริจเฉท : กำหนดด้วยส่วนของน้ำลายนี้เอง มีอยู่โดยเฉพาะในร่างกาย มิใช่อยู่ใน โกฏฐาสะอื่นๆ 112 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More