พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับการบรรลุธรรมกาย MD 306 สมาธิ 6  หน้า 49
หน้าที่ 49 / 156

สรุปเนื้อหา

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุธรรมกายและทรงชื่อว่า 'สุคโต' เพราะพระองค์เสด็จไปดีตามทางอริยมรรค ปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์ และถ่ายทอดคุณธรรมให้แก่เหล่าสาวก พระองค์ทรงดำเนินตามวิชชาและจรณะอย่างสมบูรณ์ ทำให้ทรงเป็นที่เคารพนับถือ ในธรรมะและความจริงที่ทรงพบเจอ ซึ่งนำไปสู่สันติสุขและการหลุดพ้นจากทุกข์ในชาติถัดไป ทั้งนี้ ข้อความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคยังอธิบายว่าพระองค์มีการดำเนินที่ถูกต้อง เชื่อมโยงไปสู่พระธรรมกายซึ่งส่งผลให้พระองค์ได้รับความรู้และปัญญาที่ลึกซึ้ง สู่การมีพระจิตที่บริสุทธิ์และหยุดนิ่งด้วยสมาธิอย่างแท้จริง

หัวข้อประเด็น

-พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การบรรลุธรรมกาย
-คุณธรรมที่ถ่ายทอด
-วินัยปิฎก
-การดำเนินทางอริยมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทรงบรรลุธรรมกาย ทรงหยั่งรู้ด้วยญาณของธรรมกาย ซึ่งจัดเป็นโลกุตตระ และทรงได้บรรลุ พระสัมมาสัมโพธิญาณ เป็นองค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ยิ่งกว่านั้น พระองค์ทรงทราบว่า สิ่งใดเป็นประโยชน์ สิ่งใดไร้ประโยชน์ต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ทรงปฏิบัติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ แล้วยังทรงถ่ายทอดคุณธรรมที่เป็นประโยชน์ให้แก่เหล่าสาวกทั้งหลายด้วยพระมหากรุณา อันยิ่งใหญ่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกอบด้วยวิชชาและจรณะทั้งหลายเหล่านี้ เพราะเหตุนั้น จึงทรงพระนามว่า “ทรงเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ” 2.3.4 สุคโต ทรงเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว ทรงพระนามว่า “สุคโต” เพราะทรงเป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว พระพุทธคุณบทนี้ มีอธิบายความหมายในคัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สุคโต เพราะเป็นผู้มีทางเสด็จไปอันงาม (คือ อริยมรรค) เพราะเป็นผู้เสด็จ ไปแล้วเป็นอันดี (คือ บรรลุพระอมตะนิพพาน) เพราะเป็นผู้เสด็จไปแล้วโดยชอบ (คือ ไม่กลับ มาสู่กิเลสทั้งหลายอีก หรืออีกอย่างหนึ่ง คือ ทรงทำแต่ประโยชน์เกื้อกูลแก่โลก) เพราะเป็น ผู้ตรัสโดยชอบ (คือทรงกล่าววาจาแต่ที่ควร ในฐานะอันควร) นอกจากนี้ อาจแสดงความหมายได้อีก 4 นัย คือ 1. เสด็จไปดี หมายความว่าพระองค์ทรงประพฤติดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ คือกายสุจริต วาจาสุจริต ใจสุจริต ทรงประพฤติสม่ำเสมอมาเป็นอเนกชาติ ดับขันธ์จากชาติหนึ่งก็ไปสู่สุคติ ทุกชาติ ไม่ไปสู่ทุคติเลย เพราะเหตุนี้ จึงทรงพระนามว่า “สุคโต” 2. เสด็จไปถูกต้อง หมายความว่าพระองค์ทรงดำเนินกาย วาจา ใจ ไปในแนวอริยมรรค ได้แก่มรรคมีองค์ 8 ซึ่งย่อลงเป็น ศีล สมาธิ ปัญญา พระองค์ทรงดำเนินทางศีล เป็นเบื้องต้น ศีลมีหลายประเภททรงจำแนกรายละเอียดไว้มากมาย ซึ่งรวมกันเข้าเป็นวินัยปิฎกถึง 5 พระคัมภีร์ ศีลนี้รวมกันเข้าปรากฏผลในการปฏิบัติเป็น “ดวงปฐมมรรค” มีลักษณะเป็นดวงใสอยู่ที่ ศูนย์กลางกาย นี้คือ “สุคโต” ในทางศีล พระองค์ทรงดำเนินทางใจไปหยุดอยู่ตรงดวงปฐมมรรคนั้น หยุดสงบจนราคะ โทสะ โมหะ อภิชฌา พยาบาท เข้ามาครอบงำพระทัยของพระองค์ไม่ได้ พระทัยจึงใส บริสุทธิ์ เป็นสมาธิ หยุดนิ่งจนกระทั่ง “รู้” ผุดขึ้น เรียกว่า “ปัญญา” หยุดนิ่งเช่นนั้นตั้งแต่กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม จนถึงพระธรรมกาย พระธรรมกายเข้าสมาบัติดูอริยสัจต่อไป ครั้นดวงใส บ ท ที่ 2 อ นุ ส ติ 6 DOU 39
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More