ข้อความต้นฉบับในหน้า
1.2.2 อารมณ์และนิมิตของกสิณ
คำว่า อารมณ์โดยทั่ว ๆ ไป หมายถึงสิ่งที่จิตกำหนดเป็นคำที่พระอรรถกถาจารย์ทั้งหลาย
ใช้เรียกสิ่งใดก็ตามอยู่ในขอบข่ายของสมาธิ คำนี้ตรงกับคำว่า นิมิต ซึ่งตามศัพท์หมายถึง
สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายซึ่งใช้กับสมาธิอันเกิดจากอายตนะภายนอกร่างกาย (รูป รส กลิ่น
เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์) กับอายตนะภายใน (ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ) ทั้ง 2 อย่าง ตาม
คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะ นิมิตแบ่งออกเป็น 3 คือบริกรรมนิมิต อุคคหนิมิต และปฏิภาคนิมิต
อารมณ์ที่ได้รับเลือกและเพ่งเป็นกัมมัฏฐาน เรียกว่า บริกรรมนิมิต ซึ่งหมายถึง
เครื่องหมายสำหรับการฝึกสมาธิในเบื้องต้น และเป็นสิ่งเดียวกับอารมณ์กัมมัฏฐานทั้งหมด 40
อย่าง ในการเจริญสมาธิโดยอาศัยกสิณ นิมิตก็คือเครื่องหมายหรือแผ่นกสิณซึ่งให้เป็นอารมณ์
โดยอาศัยอายตนะภายนอก คือ รูปและสัมผัส
หลังจากพิจารณากสิณ ก็จะเป็นบริกรรมนิมิต เป็นภาพในจิต เรียกว่า มโนภาพซึ่งเป็น
สิ่งที่ประทับใจในความคิด และเป็นภาพจำลองของสิ่งนั้น พร้อมกับลักษณะทุกอย่างของสิ่งนั้น
ซึ่งจะปรากฏชัดแจ้งประดุจเห็นด้วยตา ภาพที่เห็นนี้เรียกว่า อุคคหนิมิต ซึ่งเป็นมโนภาพใน
เครื่องหมายนั้นๆ ซึ่งจะเห็นได้โดยการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง นิมิตชนิดนี้มีชื่อเรียกต่างๆ กัน เช่น
สัญลักษณ์ที่จะยึด เครื่องหมายสำหรับยึด ตามความหมาย คำว่า อุคคหะ ได้แก่สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่
เราศึกษาหรือเรียนรู้ และในที่นี้หมายถึงการยึดภาพมาไว้ในจิต เพื่อให้ภาพนั้นอยู่ในจิต
เหมือนสิ่งที่ท่องจำได้ หลังจากได้อุคคหนิมิตแล้ว ไม่จำเป็นต้องกลับไปเพ่งบริกรรมนิมิตอีก
ต่อไป
สมาธิขั้นต้นย่อมปลดเปลื้องภาพของรูป สี และสัดส่วนที่มีขอบเขตจำกัดหรือที่สร้าง
ขึ้นมา ซึ่งเรียกว่ากสิณโทษ และย่อมเปลี่ยนภาพนั้นเป็นความรู้ซึ่งเป็นนามธรรมและเฉพาะ
เจาะจง เพราะเกี่ยวข้องกับวัตถุเฉพาะอย่าง ภาพซึ่งเป็นความรู้นี้เรียกว่า ปฏิภาคนิมิต คือ ภาพ
ที่อยู่เบื้องหลังซึ่งไม่ปรากฏในอายตนะหรือไม่ปรากฏเป็นอินทรีย์ที่รับรู้ว่าเป็นวัตถุที่มีตัวตน แต่
ภาพนี้สถิตอยู่ในจิตในฐานะเป็นเครื่องหมายแทนคุณภาพทั้งหมดหรือเป็นส่วนซึ่งจิตแสดง
สัญลักษณ์ออกมา
1 พระ ดร. พี วชิรญาณมหาเถระ, สมาธิในพระพุทธศาสนา, โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย หน้า 11
8 DOU สมาธิ 6 ส ม า ก ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)