ข้อความต้นฉบับในหน้า
2.3.6 อนุตตโร ปุริสทัมมสารถ ทรงเป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่น
ยิ่งกว่า
หมายถึง ยอดเยี่ยม เพราะพระพุทธองค์เป็นผู้ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และสรรพสัตว์
ไม่มีใครเหนือกว่า หาใครเทียบไม่ได้ พระพุทธองค์ทรงยอดเยี่ยมด้วยคุณต่าง ๆ คือ ศีลคุณ
สมาธิคุณ ปัญญาคุณ วิมุตติคุณ วิมุตติญาณทัศนะคุณ คุณเหล่านี้ไม่มีใครยิ่งกว่า
ทรงเป็นผู้ฝึกบุรุษผู้ควรฝึก คือ ทรงสั่งสอนเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ทรงฝึกมนุษย์ เทวดา
พรหมทั้งหลาย แม้สัตว์เดรัจฉานบางเหล่าบางพวก โดยวิธีการต่าง ๆ ทั้งปลอบโยน ทรมานยกย่อง
ตามสมควรตามความเหมาะสมแก่อัธยาศัยของสัตว์นั้นๆ เช่น การฝึกพวกชฎิลสามพี่น้องให้
บรรลุเป็นพระอรหันต์ ฝึกช้างนาฬาคีรีที่ถูกมอมเหล้าขาดสติ ให้ละพยศและตั้งมั่นในศีล เป็นต้น
2.3.7 สัตถา เทวมนุสสานัง ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
ทรงเป็นพระบรมศาสดา เป็นผู้นำของมนุษย์ เทวดา พรหมทั้งหลาย ทรงนำไปให้พ้น
จากที่กันดาร คือ การเกิด แก่ เจ็บ ตาย ให้เข้าถึงพระนิพพาน ประดุจพ่อค้านายกองเกวียน
ที่นำลูกน้องเดินทางพ้นที่กันดารที่มีภัยทั้งหลาย ไปสู่จุดหมายปลายทางอย่างสุขสงบปลอดภัย
พระพุทธคุณข้อนี้เกิดจากพระองค์เป็นโลกวิทู เพราะทรงรู้แจ้งโลก จึงได้ทรงเป็นยอด
นักฝึกมนุษย์อย่างดีเยี่ยมไม่มีใครเสมอเหมือน ไม่เฉพาะแต่มนุษย์เท่านั้นที่พระองค์ทรงฝึกได้
แม้แต่เทวดาทั้งหลาย ทั้ง 6 ชั้น รวมถึงรูปพรหม พระองค์ก็สามารถฝึกได้อย่างชนิดที่ไม่มีใคร
เทียบเหมือนกัน พระองค์จึงได้ชื่อว่าเป็นบรมครูของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย นอกจากนี้ยัง
ไม่ทรงเหนื่อยในการที่จะฝึกอีกด้วย ดังปรากฏตามพุทธกิจ 5 ประการว่า
1. เวลาเช้าทรงบิณฑบาต
2. เวลาเย็นทรงแสดงธรรมแก่มนุษย์
3. เวลาพลบค่ำทรงให้โอวาทภิกษุ
4. เว
เวลาเที่ยงคืนทรงแก้ปัญหาเทวดา
5. เวลาย่ำรุ่งทรงพิจารณาดูเวไนยสัตว์
นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นหัวใจของความเป็นครูของพุทธองค์ ที่ทรงทำหน้าที่เป็นครูให้แก่
ทั้งเทวดาและมนุษย์อย่างเต็มที่ โดยมิได้ทรงเห็นแก่เวลาส่วนพระองค์เลย จึงสมที่พระองค์จะ
ได้รับขนานพระนามว่า สัตถาเทวมนุสสานัง
บ ท ที่ 2 อ นุ ส ติ 6 DOU 41