ฤทธิ์และอำนาจของกสิณ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 31
หน้าที่ 31 / 156

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับฤทธิ์ที่เกิดจากอำนาจของกสิณต่างๆ เช่น เตโชกสิณ, วาโยกสิณ, นีลกสิณ, ปีตกสิณ, โลหิตกสิณ, โอทาตกสิณ, อาโลกกสิณ และอากาสกสิณ ซึ่งแต่ละชนิดมีความสามารถเฉพาะในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ และนำไปสู่การบรรลุธรรม นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการฝึกปฏิบัติเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

-ฤทธิ์ของเตโชกสิณ
-ฤทธิ์ของวาโยกสิณ
-ฤทธิ์ของนีลกสิณ
-ฤทธิ์ของปีตกสิณ
-ฤทธิ์ของโลหิตกสิณ
-ฤทธิ์ของโอทาตกสิณ
-ฤทธิ์ของอาโลกกสิณ
-การเจริญกสิณ
-การเข้าถึงพระธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้หวั่นไหวสั่นสะเทือนได้ 3. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจเตโชกสิณ คือ บังหวนควันได้ บันดาลให้ไฟลุกโพลงได้ ทำฝน ถ่านเพลิงให้เกิดขึ้นได้ บันดาลไฟที่เกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ผู้อื่นให้ดับลงด้วยไฟที่เกิดขึ้นด้วยฤทธิ์ ของตนได้ สามารถเผาเฉพาะสิ่งที่ต้องการได้ ทำแสงสว่างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การเห็นรูปด้วย ทิพยจักษุได้ ทำสรีระให้ไหม้ไปด้วยเตโชธาตุ ในคราวปรินิพพานได้ 4. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจวาโยกสิณ คือ ไปได้เร็วเหมือนลมพัด ทำฝนลมให้เกิดขึ้นได้ 5. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจนีลกสิณ คือ นิรมิตสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นสีเขียวได้ ทำให้มืดไปได้ ได้อภิภายตนะโดยนัยมีผิวพรรณงามและมีผิวพรรณน่าเกลียด การบรรลุสุภวิโมกข์ คือ การ บรรลุมรรคผลและนิพพานโดยง่ายสะดวกสบาย 6. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจปีตกสิณ คือ นิรมิตสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นสีเหลืองได้ เสกเหล็ก ทอง เหลือง ทองแดง เป็นต้น ให้เป็นทองคำได้ 7. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจแห่งโลหิตกสิณ คือ นิรมิตสิ่งของต่าง ๆ ให้เป็นสีแดงได้ 8. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจแห่งโอทาตกสิณ คือ นิรมิตสิ่งของต่าง ๆ ให้เป็นสีขาวได้บันดาล ให้สร่างจากความง่วงความหดหู่ท้อถอยได้ ไล่ความมืดได้ ทำแสงสว่างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การ เห็นรูปด้วยทิพพจักษุได้ 9. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจแห่งอาโลกกสิณ คือ นิรมิตสิ่งของต่าง ๆ ให้มีแสงสว่างได้ ขับ ความง่วงหงาวหาวนอนได้บันดาลความมืดได้ ทำแสงสว่างขึ้นเพื่อประโยชน์แก่การเห็นรูปด้วย ทิพยจักษุได้ 10. ฤทธิ์เกิดด้วยอำนาจแห่งอากาสกสิณ คือ ทำสิ่งที่ลี้ลับอยู่ให้เปิดเผยได้ นิรมิตช่อง ว่างเข้าในที่ทึบเช่นภายในแผ่นดินและภายในภูเขาแล้วสำเร็จอิริยาบถยืน เดิน นั่ง นอน อยู่ได้ ทะลุออกไปภายนอกฝาหรือกำแพงได้ ไม่มีอะไรกีดกั้น ทั้งหมดนี้คือวิธีการเจริญกสิณ ขอให้นักศึกษาได้ศึกษาและลองฝึกปฏิบัติ เพื่อเป็น แนวทางในการปฏิบัติเพื่อการเข้าถึงพระธรรมกายต่อไป บ ท ที่ 1 ก ส ณ 1 0 DOU 21
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More