ข้อความต้นฉบับในหน้า
เรื่องพระเถระ 2 พี่น้อง
มีพระเถระสองพี่น้อง ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ ได้เคยเจริญอานาปานสติจนบรรลุ
ฌานมาก่อน แล้วจึงเจริญวิปัสสนา จนสิ้นอาสวกิเลสเป็นพระอรหันต์ ต่อมาวันหนึ่งเป็นวัน
อุโบสถท่านทั้งสองได้ออกจากจิตตลดาบรรพตวิหารซึ่งเป็นอาวาสที่อยู่อาศัยไปกระทำอุโบสถ
องค์หนึ่งเมื่อสวดพระปาฏิโมกข์เสร็จแล้ว ได้เข้าไปในที่อยู่ของตนพร้อมด้วยหมู่พระภิกษุ ยืนใน
ที่จงกรมและแหงนดูดวงจันทร์ ตรวจดูอายุสังขารของตัวเอง แล้วถามภิกษุเหล่านั้นว่า เคยเห็น
พระภิกษุปรินิพพานด้วยอาการอย่างไรบ้าง บ้างก็ตอบว่า เคยเห็นบางองค์นั่งปรินิพานกลาง
อากาศ บ้างก็ตอบว่า เคยเห็นนั่งคู่บัลลังก์ปรินิพพานกลางอากาศ พระเถระจึงกล่าว่า คราวนี้
เราจะให้พวกท่านได้เห็นการปรินิพพานของพระอรหันต์ในขณะเดินจงกรม ว่าแล้วก็ได้ทำรอย
ขีดไว้ที่ทางจงกรม แล้วบอกว่า เราเดินจากปลายที่จงกรมด้านนี้ถึงปลายที่จงกรมด้านโน้นแล้ว
เดินกลับมา เมื่อถึงรอยขีดนี้ก็จักปรินิพพาน จากนั้นท่านก็ได้ขึ้นสู่ที่จงกรม เดินไปสู่ปลายข้าง
โน้นแล้วกลับมา เพียงแค่เท้าข้างหนึ่งเหยียบรอยที่ขีดไว้ ท่านก็ปรินิพพานในขณะนั้นนั่นเอง
5.7 อานาปานสติกับจริต
อานาปานสติ เหมาะกับผู้ที่มีโมหจริตและวิตกจริต เพราะตามธรรมดาโมหะนั้นมี
สภาพมืดมัวงมงาย ย่อมทำให้จิตใจฟุ้งซ่านโลเลหวั่นไหวอยู่เนืองนิตย์ และธรรมดาของผู้มีวิตก
จริตก็มักจะนึกคิดไปเรื่อยเปื่อยต่างๆ นานา เมื่อใดที่วิตกมีกำลังแก่กล้าขึ้น ส่งผลให้จิตใจ
ปราศจากความสงบผ่องแผ้ว มีแต่ความเลื่อนลอยไปในอารมณ์ต่างๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ถ้าหาก
ผู้ที่มีโมหจริตและวิตกจริต ใช้อารมณ์ที่ผิดมาเป็นหลักในการเจริญภาวนา เช่น ใช้มรณานุสติ
อุปสมานุสติ อาหาเรปฏิกูลสัญญา เป็นต้น ซึ่งเป็นอารมณ์กรรมฐานที่มีความละเอียดลึกซึ้ง
เห็นคุณและโทษได้ยาก ก็จะทำให้โมหะและวิตกมีกำลังมากขึ้น การเจริญกัมมัฏฐานก็จะ
ไม่ได้รับผลแต่อย่างใด แต่ถ้าใช้อานาปานสติเป็นอารมณ์แล้ว การเจริญกัมมัฏฐานย่อมได้รับผล
เต็มที่ เพราะว่าอานาปานสติไม่ได้มีความลึกซึ้งกว้างขวางมากนัก อีกทั้งปรากฏชัดอยู่ทุก
ลมหายใจเข้าออก จึงมีความเหมาะสมแก่ผู้ที่มีจริตทั้งสอง แม้ผู้ที่ไม่ได้ตั้งใจบำเพ็ญกัมมัฏฐาน
เป็นคนทั่วไปหากปรากฏว่ามีความวิตกกังวลเกิดความวุ่นวายใจจนถึงกับนอนไม่หลับ ท่านยัง
แนะนำให้กำหนดลมหายใจเข้าออกเพื่อทำให้ใจสงบระงับจากความวุ่นวายกังวลเหล่านั้น
140 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)