สังฆานุสติ: ความสำคัญและประเภทของพระสงฆ์ MD 306 สมาธิ 6  หน้า 58
หน้าที่ 58 / 156

สรุปเนื้อหา

สังฆานุสติ คือ การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ มี 2 จำพวก ได้แก่ สมมติสงฆ์ และอริยสงฆ์ โดยพระอริยสงฆ์คือผู้ดำรงอยู่ในมรรค 4 ผล 4 ส่วนสมมติสงฆ์คือพระสงฆ์ที่มีจำนวนตั้งแต่ 4 รูป พระสงฆ์มีคุณเพราะเป็นผู้รักษาและสืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ควรพิจารณาตามบทสรรเสริญพระสังฆคุณ ซึ่งมีข้อความสำคัญเกี่ยวกับพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ และดำรงตนอยู่บนทางสายกลาง เพื่อมุ่งสู่พระนิพพาน

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสังฆานุสติ
-ประเภทของพระสงฆ์
-คุณธรรมของพระสงฆ์
-บทสรรเสริญพระสังฆคุณ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2.9 สังฆานุสติ สังฆานุสติ คือ การตามระลึกถึงคุณของพระสงฆ์เป็นอารมณ์พระสงฆ์ มี 2 จำพวก คือ สมมติสงฆ์ และอริยสงฆ์ พระอริยสงฆ์ คือ ท่านที่ดำรงอยู่ในมรรค 4 ผล 4 สมมติสงฆ์ คือ พระสงฆ์โดยสมมติ หมายถึง พระภิกษุแม้เพียงรูปเดียว ส่วนสงฆ์ ได้แก่ ภิกษุซึ่งจำนวนตั้งแต่ 4 รูป นั่งอยู่ภายในสีมา ไม่ละหัตถบาสกันและกันมีอำนาจในการทำ สังฆกรรม พระสงฆ์มีคุณเพราะท่านเป็น ผู้รักษาและสืบทอดคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทั้งยังเป็นบุญเขตเป็นเนื้อนาบุญของโลก การระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ให้พิจารณาตามบทสรรเสริญพระสังฆคุณ ดังพระบาลีที่ว่า “สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ อุชุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ ญายปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ สามีจิปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ ยทิทัง จัตตาริ ปุริสยุคานิ อัฏฐะ ปุริสปุคคลา เอสะ ภควโต สาวกสังโฆ อาหุเนยโย ปาหุเนยโย ทักขิเณยโย อัญชลีกรณีโย อนุตตรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสะฯ” 2.9.1 สุปฏิปันโน พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ดำรงตนอยู่ในสัมมาปฏิบัติ สมบูรณ์ด้วยอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา อธิปัญญาสิกขา 2.9.2 อุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรงต่อหนทางเข้าสู่พระนิพพาน ไม่ปฏิบัติในกามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลม ถานุโยค แต่ปฏิบัติตามมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง ไม่วอกแวกไปทางอื่น ปฏิบัติเพื่อ ละโทษคดโกง ทางกาย วาจา ใจ ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องทางโลก 2.9.3 ญายปฏิปันโน พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติเพื่อให้ได้สำเร็จพระนิพพาน พาตัวเองพ้นจากภพ 3 ไม่ปรารถนา โภคสมบัติ และภวสมบัติใดๆ 48 DOU สมาธิ 6 ส ม ก กั ม ม ฏ ฐ า น 4 0 วิ ธี (1)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More